สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

ชื่อหลักสูตร 

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาอุตสาหกรรมการบริการ

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Hospitality Industry


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาอุตสาหกรรมการบริการ)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration (Hospitality Industry)

วิสัยทัศน์

เป็นผู้นำในการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน ด้านการท่องเที่ยวและการบริการระดับประเทศ

ปรัชญา 

สาขาอุตสาหกรรมการบริการมุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในวิชาชีพทางการท่องเที่ยว โดยบูรณาการความรู้จากสหสาขาวิชาชีพ พร้อมความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ บ่มเพาะความใฝ่รู้ ตลอดจนยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพมุ่งยกระดับการเรียนการสอนด้วย “ระบบสหกิจศึกษาเต็มรูปแบบ 3 ภาคการศึกษา” เพื่อให้รู้จริงและสามารถปฏิบัติวิชาชีพในสถานการณ์จริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยกลไกความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย สถานประกอบการทั้งภาครัฐและเอกชน ตลอดจนการเตรียมความพร้อมสู่การเปิดเสรีภาคบริการในอาเซียน เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของการท่องเที่ยวไทย การท่องเที่ยวอาเซียน และการท่องเที่ยวโลก

วัตถุประสงค์

          1. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่มีความรู้และทักษะในวิชาชีพอย่างดี อันจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบวิชาชีพและรับใช้สังคมอย่างมีประสิทธิภาพ         
          2. เพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมให้พร้อมสู่การเปิดเสรีภาคบริการในภูมิภาคอาเซียน
          3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้พื้นฐานเพียงพอต่อการศึกษาต่อในระดับสูงต่อไป


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บัณฑิตจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีสมรรถนะหลักด้านความรู้ ความสามารถ ความเป็นเลิศในทางวิชาการ รวมทั้งการมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมด้วยจิตวิทยาบริการ และการบริการมูลค่าสูงภายใต้ความเป็นไทย (Thainess) โดยจุดเด่นของบัณฑิตทางการท่องเที่ยวและการโรงแรมคือความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการทางการท่องเที่ยว มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีควบคู่กับการมีบุคลิกภาพที่ดี และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้โดยใช้การทํางานเป็นฐาน (Active Leaning) บัณฑิตสามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ Bigdata และ AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการในตลาดโลก


แนวทางประกอบอาชีพ

  • ด้านการจัดการการท่องเที่ยว – นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) อาทิ สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยอุทยานแห่งชาติ อุทยานประวัติศาสตร์ สำนักงานพัฒนาการท่องเที่ยวและกีฬา บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว บริษัทจัดนำเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ บริษัทรับจัดประชุม ธุรกิจสายการบิน ท่าอากาศยาน ธุรกิจที่พัก กองทุนสัตว์ป่าโลกสากล หรือมูลนิธิที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น โดยงานที่นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้ เช่น มัคคุเทศก์ พนักงานบริการข้อมูล พนักงานให้บริการลูกค้า พนักงานสำรอง ที่นั่ง พนักงานฝ่ายประสานงาน พนักงานฝ่ายปฏิบัติการ พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เป็นต้น
  • ด้านธุรกิจโรงแรมและสปา – นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพในงานโรงแรม รีสอร์ท ธุรกิจที่พักประเภทอื่นๆ โดยสามารถปฏิบัติงานในงานบริการส่วนหน้า งานแม่บ้าน งานสำนักงาน หรือสามารถประกอบอาชีพในธุรกิจสปาได้ เช่น ผู้ประกอบการสปา พนักงานต้อนรับ หรือ พนักงานนวด (Therapist) ในธุรกิจเดย์สปา หรือแผนกสปาในโรงแรมหรือรีสอร์ท หรือธุรกิจนวดไทย เป็นต้น
  • ด้านธุรกิจครัวและภัตตาคาร – นักศึกษาสามารถประกอบอาชีพในธุรกิจภัตตาคาร บาร์และครัวโดยสามารถทำงานในครัวประเภทต่างๆ หรืองานในสำนักงานบริหารฝ่ายอาหารและเครื่องดื่มของธุรกิจโรงแรม รีสอร์ท ภัตตาคารชั้นหนึ่ง ร้านอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ธุรกิจจัดเลี้ยงในและนอกสถานที่รวมทั้งการประกอบธุรกิจส่วนตัว

แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาการท่องเที่ยวและโรงแรมหรือสาขาอื่นๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

  • ปี 1-ปี 3 เทอมละ 20,400 บาท
  • ปี 4 เทอมละ 16,400 บาท
    * ค่าเทอมเหมาจ่ายรวมกิจกรรมภาคสนามและการเรียนรู้ในต่างประเทศ *
  • การศึกษาภาคสนาม (อย่างน้อย 9-10 ทริป)
  • ประสบการณ์ในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ทริป
  • อาจารย์พิเศษ วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ

โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต  รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า                      179 หน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                                            40 หน่วยกิต

1)กลุ่มวิชาภาษาและการสื่อสาร20 หน่วยกิต
2)กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์12 หน่วยกิต
3)กลุ่มวิชาสุขพลานามัย4 หน่วยกิต
4)กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์4 หน่วยกิต
5)กลุ่มวิชาสารสนเทศ*4 หน่วยกิต

หมายเหตุ
* ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
 

ข. หมวดวิชาเฉพาะ                                                                 106 หน่วยกิต

1)วิชาพื้นฐานวิชาชีพ30 หน่วยกิต
2)วิชาเฉพาะ76 หน่วยกิต
    2.1) วิชาเอกบังคับการท่องเที่ยว38 หน่วยกิต
    2.2) วิชาเอกบังคับการโรงแรม38 หน่วยกิต
     2.3) วิชาเอกเลือก38 หน่วยกิต
        2.3.1) กลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะ19 หน่วยกิต
        2.3.2) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ19 หน่วยกิต

  ค. หมวดเลือกเสรี                                                                     8 หน่วยกิต

  ง. หมวดวิชาสหกิจศึกษา                                                         25 หน่วยกิต

 

ดาวน์โหลด/ข้อมูลเพิ่มเติม

1.รายละเอียดหลักสูตร (มคอ.2)

2.ข้อมูลหลักสูตร (ฉบับย่อ)

3.แผนการเรียน

4.การเรียนรู้ตลอดชีวิต (Lifelong Learning)

5.ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

  • ปี 1-ปี 3 เทอมละ 20,400 บาท
  • ปี 4 เทอมละ 16,400 บาท
    ค่าเทอมเหมาจ่ายรวมกิจกรรมภาคสนามและการเรียนรู้ในต่างประเทศ *
  • การศึกษาภาคสนาม (อย่างน้อย 9-10 ทริป)
  • ประสบการณ์ในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ทริป
  • อาจารย์พิเศษ วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ
Facebook Comments