สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ได้รับเชิญร่วมสร้างแบรนด์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สาขาการตลาด สำนักวิชาการจัดการ และศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้รับเชิญจากคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมสร้างแบรนด์อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เมื่อเร็วๆ นี้ ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยมีกิจกรรมทั้งหมด 2 วัน วันแรกเป็นการให้ความรู้กับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติทางทะเลทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน ตลอดจนผู้บริหารของกรมอุทยานสัตว์ป่า และพันธุ์พืช เพื่อให้ทุกภาคส่วนรับรู้และเข้าใจต่อแนวคิดการสร้างแบรนด์ในทิศทางเดียวกัน เพราะปัจจุบันหลายภาคส่วนยังเข้าใจว่าแบรนด์เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับการออกแบบโลโก้หรือบรรจุภัณฑ์สินค้า ซึ่ง ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ได้นำผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับการสร้างแบรนด์ที่ได้รับทุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำเสนอให้กับหัวหน้าอุทยานแห่งชาติฯ รวมทั้งการบรรยายถึงองค์ประกอบและกระบวนการสร้างแบรนด์ และจัดทำ Workshop เพื่อกำหนดอัตลักษณ์แบรนด์อุทยานแห่งชาติกิจกรรมในวันที่สองเป็นกิจกรรมที่นำเสนอแนวคิดการสร้างแบรนด์ให้กับผู้บริหารระดับสูงของกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เนื่องจากแนวคิดแบรนด์เป็นแนวคิดในเชิงธุรกิจ แต่การจัดการอุทยานเน้นในเชิงอนุรักษ์ โดยมี นายจงคล้าย วรพงศธร รองอธิบดี กรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช เป็นประธานในที่ประชุม พร้อมด้วยผู้บริหารของกรมฯ

          ทั้งนี้ประเด็นสำคัญในการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับแบรนด์ในพื้นที่อุทยาน ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ได้นำเสนอแบรนด์ในมิติของการเป็นทิศทางเชิงกลุยทธ์ขององค์กรที่พัฒนาขึ้นบนศักยภาพขององค์กรและนำเสนอให้สอดคล้องกับมุมมองที่ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายให้คุณค่า ด้วยเหตุนี้ แบรนด์ที่จะนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้างแบรนด์อุทยานแห่งชาติสิมิลันจึงเปรียบเสมือนเป้าหมายที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องต้องการจะมุ่งไปให้ถึง นั่นคือ การอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติ และลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากากรท่องเที่ยว อย่างไรก็ตาม ในการพัฒนาแบรนด์ของอุทยานแห่งชาติสิมิลัน ที่ประชุมเห็นด้วยกับทิศทางแบรนด์เขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน ดังนั้น แนวทางการสร้างแบรนด์ต้องสอดคล้องกับแบรนด์การท่องเที่ยวอันดามัน และอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยวของจังหวัดพังงา ซึ่ง ผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ ได้นำเสนอผลงานวิจัยแบรนด์อันดามันว่า “Irresistible Andaman” และได้รับการเห็นชอบจากคณะกรรมการพัฒนาการท่องเที่ยว ประจำเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน และให้นำไปขับเคลื่อนในจังหวัดอื่น โดยในส่วนของจังหวัดพังงา ได้มีการพัฒนาอัตลักษณ์แบรนด์ว่า “พังงาแห่งความสุข” หรือ “Happiness Phang Nga” ที่ผู้ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการบริหารจัดการต้องขับเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในการขับเคลื่อนแบรนด์การท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสิมิลันอาศัยผลงานวิจัยในโครงการ การสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ประจำปี พ.ศ. 2560 โดยผศ.ดร.ศิวฤทธิ์ กล่าวต่อว่า “แบรนด์การท่องเที่ยวในภาคใต้ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างจริงจัง เพราะหลายภาคส่วนเข้าใจว่า แบรนด์คือเรื่องของการออกแบบโลโก้ หรือสื่อสัญลักษณ์ รวมถึงการสร้างภาพลักษณ์ในมุมมองของนักท่องเที่ยวเท่านั้น ในงานวิจัยนี้ เราจึงให้ความสำคัญกับการออกแบบและพัฒนาอัตลักษณ์แบรนด์การท่องเที่ยวของเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามันที่เปรียบเสมือนแบรนด์องค์กรที่จังหวัดต่าง ๆ ในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามันต้องยึดเป็นแนวทางในการพัฒนาแบรนด์ของแต่ละจังหวัดต่อไป และที่สำคัญ การสร้างแบรนด์ไม่ได้สิ้นสุดแค่การได้อัตลักษณ์ แต่ผู้ที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการต้องพัฒนากระบวนการให้ทุกภาคส่วนรับรู้และเข้าใจในอัตลักษณ์แบรนด์ในทิศทางเดียวกัน เพราะแบรนด์ คือ เรื่องที่คนภายในต้องเชื่อในเรื่องเดียวกัน และเป็นเรื่องที่คนภายนอก (นักท่องเที่ยว) เชื่อแบบนั้น”

          ทั้งนี้ สาขาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการธุรกิจท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ได้ดำเนินการทั้งการวิจัย บริการวิชาการ และให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์มาเป็นระยะเวลานาน และได้แทรกกระบวนการสร้างแบรนด์ในการจัดการเรียนการสอนด้านการตลาดในหลักสูตรบริหารธุรกิจ ประกอบกับปัจจุบันบุคลากรในประเทศไทยกำลังขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ในการสร้างแบรนด์ ดังนั้น ในปีการศึกษา 2562 สาขาบริหารธุรกิจจึงได้จัดทำหลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ เพื่อมุ่งเน้นในการพัฒนาบัณฑิตที่มีความคิดสร้างสรรค์ รู้เท่าทันโลกดิจิทัลและสามารถสร้างและบริหารจัดการแบรนด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพก่อให้เกิดมูลค่าต่อธุรกิจของตนเอง หรือองค์กรที่ทำงานอยู่

ด้วยเหตุนี้จากประสบการณ์ของคณาจารย์ด้านการตลาด สาขาบริหารธุรกิจ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เราจึงเชื่อมั่นว่าจะสามารถนำมาร่วมสร้างนักการตลาดสายพันธุ์ใหม่เพื่อรองรับโลกธุรกิจและการตลาด 4.0

Facebook Comments