สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

 

ความเป็นมาสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

               สำนักวิชาการจัดการ เดิมชื่อว่า “สำนักวิชาวิทยาการจัดการ” ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต ศึกษา ค้นคว้าวิจัย และให้บริการวิชาการในองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการวิจัยทางการบริหารการจัดการโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบน โดยมีเหตุการณ์ที่สำคัญ ดังนี้

     พ.ศ. 2541 สำนักวิชาการจัดการเริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและเศรษฐศาสตรบัณฑิต
     พ.ศ. 2542 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศและสาขา     การจัดการการท่องเที่ยว
     พ.ศ. 2544 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์
     พ.ศ. 2551 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในด้านการจัดการโลจิสติกส์ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์
     พ.ศ. 2563 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ

หลังจากนั้นสำนักวิชาการจัดการได้มีการพัฒนาอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องทั้งด้านบุคลากร การพัฒนาหลักสูตร การวิจัย ตลอดจนการบริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม อีกทั้งเล็งเห็นถึงความสำคัญของการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและจริยธรรมเพื่อช่วยในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ โดยในช่วงก่อนปี พ.ศ. 2565 สำนักวิชาการจัดการมีการเติบโตอย่างมาก โดยมีการเปิดสอนระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท และปริญญาเอก อย่างไรก็ตามในปี พ.ศ. 2565 เป็นปีที่มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ก่อตั้งครบ 30 ปี และเป็นปีที่สำนักวิชาการจัดการเปิดรับนักศึกษามาครบ 25 ปี โดยในปีปี พ.ศ. 2565 ได้มีการเปลี่ยนแปลงในสำนักวิชาการจัดการเนื่องมาจากการเติบโตของหลักสูตรต่าง ๆ ในสำนักวิชาการจัดการทำให้มีการแยกสำนักวิชาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ ทำให้สำนักวิชาการจัดการ ณ ปัจจุบันมี 3 สาขาวิชา 4 หลักสูตร ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นหลักสูตรที่ทันสมัยต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกธุรกิจ ได้แก่

  1. สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์
  2. สาขาวิชาการตลาดดิจิทัล หลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์
  3. สาขาวิชาการท่องเที่ยวและโปรเชฟ หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล และหลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ

สำนักวิชาการจัดการมีวิสัยทัศน์สู่การเป็นสถานศึกษาด้านการจัดการที่นำเสนอประสบการณ์และสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เป็นเลิศด้านการจัดการด้วยผลงานวิจัยระดับนานาชาติ โดยมุ่งเป็นประตูสู่ความสำเร็จ (Gateway to Achievement) ที่พร้อมร่วมสร้างความสำเร็จให้กับทั้งนักศึกษา ธุรกิจ หน่วยงาน องค์กรและชุมชนท้องถิ่นโดยอาศัยศักยภาพของคณาจารย์ในสำนักวิชาการจัดการที่มีความรู้และประสบการณ์ทั้งการสอน วิจัยและประสบการณ์ในภาคธุรกิจ ในด้านการจัดการเรียนการสอน สำนักวิชาการจัดการได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศสหราชอาณาจักร และการจัดการสหกิจศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสำนักวิชาการจัดการได้มีโอกาสปฏิบัติงานในสถานประกอบการก่อนจบการศึกษาเป็นระยะเวลา 8 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ
           นอกจากนี้ ด้วยความมุ่งมั่นในการขับเคลื่อนงานวิจัยในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการและบริหารธุรกิจ อาทิ การจัดการโลจิสติกส์ การตลาดและการสร้างแบรนด์ การบริการ การท่องเที่ยว และการประกอบอาหาร รวมถึงการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติที่มีความร่วมมือกับนักวิชาการในต่างประเทศ สำนักวิชาการจัดการมุ่งมั่นในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และการส่งเสริมการถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมทางการจัดการและบริหารธุรกิจเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนท้องถิ่นและธุรกิจ ตลอดจนการสร้างความยั่งยืนทางสังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม

          โดยข้อมูล ณ วันที่ 30 ธันวาคม 2565 สำนักวิชาการจัดการ มีบุคคลากรรวมทั้งสิ้น 33 คน โดยเป็น พนักงานสายวิชาการ จำนวน 25 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอก 11 คน ปริญญาโท 14 คน ลาศึกษาต่อ 4 คน โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ 4 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 6 คน อาจารย์ 15 คน มีนักศึกษารวมทั้งสิ้น 919 คน จำแนกตามหลักสูตรได้ดังนี้

  • หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 318 คน
  • หลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ จำนวน 261 คน
  • หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล จำนวน 228 คน
  • หลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ จำนวน 112 คน

 

Facebook Comments