สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

 

ความเป็นมาสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

              สำนักวิชาการจัดการ เดิมชื่อว่า “สำนักวิชาวิทยาการจัดการ” ได้จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยลักษณ์ พุทธศักราช 2535 มีภารกิจหลักในการผลิตบัณฑิต ศึกษา ค้นคว้าวิจัย และให้บริการวิชาการในองค์ความรู้ทางด้านการจัดการ เพื่อเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการและการวิจัยทางการบริหารการจัดการโดยเฉพาะในเขตภาคใต้ตอนบน โดยมีเหตุการณ์ที่สำคัญ ดังนี้

                พ.ศ. 2541 สำนักวิชาการจัดการเริ่มเปิดรับนักศึกษารุ่นแรก ในหลักสูตรบัญชีบัณฑิตและเศรษฐศาสตร์บัณฑิต

                พ.ศ. 2542 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศและสาขา การจัดการการท่องเที่ยว

                พ.ศ. 2544 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการตลาดอิเล็กทรอนิกส์

                พ.ศ. 2549 สำนักวิชาการจัดการได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ ให้มีความทันสมัย กับยุคปัจจุบันมากขึ้น

                พ.ศ. 2551 สำนักวิชาการจัดการจัดการเรียนการสอนในด้านการจัดการโลจิสติกส์ และการจัดการทรัพยากรมนุษย์

                พ.ศ. 2554 สำนักวิชาการจัดการได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ ให้มีความทันสมัย กับยุคปัจจุบันมากขึ้น

                พ.ศ. 2555 สำนักวิชาการจัดการได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการท่องเที่ยว เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว

                พ.ศ. 2560 สำนักวิชาการจัดการได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ ให้มีความทันสมัย กับยุคปัจจุบันมากขึ้น และได้ปรับปรุงหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมท่องเที่ยว เป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาอุตสาหกรรมการบริการ

                ในปี พ.ศ. 2562, สำนักวิชาการจัดการได้ทำการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรบริหารธุรกิจอย่างครอบคลุม จากเดิมที่มีเพียงหลักสูตรเดียว กลายเป็นการขยายเป็น 3 หลักสูตรใหม่ ที่มีคุณลักษณะเด่นชัดในแต่ละด้าน ได้แก่ หลักสูตรบริหารธุรกิจด้านการเงิน, หลักสูตรบริหารธุรกิจด้านการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์, และหลักสูตรบริหารธุรกิจด้านการจัดการโลจิสติกส์ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและการพัฒนาอาชีพในอนาคต

                พ.ศ. 2563 สำนักวิชาการเปิดหลักสูตรใหม่ ทางด้านบริหารธุรกิจ สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ ภายใต้สาขาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ

                 พ.ศ. 2565 การแยกตัวของหลักสูตรทางด้านเศรษฐศาสตร์ การเงินและการบัญชี จากสำนักวิชาการจัดการ ออกไปจัดตั้งสำนักวิชาใหม่ทางด้านการบัญชีและการเงิน

                 ในปี พ.ศ. 2565, สำนักวิชาการจัดการได้มีการแยกหลักสูตรด้านเศรษฐศาสตร์, การเงิน, และการบัญชี เพื่อการเติบโตและสร้างสำนักวิชาใหม่เฉพาะทางด้านการบัญชีและการเงิน การเปลี่ยนแปลงนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อตอบสนองต่อความต้องการและพัฒนาการศึกษาในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                 ในช่วงเวลาเดียวกัน, หลักสูตรบริหารธุรกิจที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมการบริการได้รับการปรับปรุงและพัฒนาเป็นหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต ทางด้านการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการในยุคดิจิทัล เพื่อให้สอดคล้องกับยุคสมัยและตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน

                ด้วยการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของสำนักวิชา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนนักศึกษา, บุคลากร, หลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ระดับปริญญาตรีจนถึงปริญญาเอก, ผลงานวิจัย, รวมถึงการบริการวิชาการที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง การแยกสำนักวิชาในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งตรงกับครบรอบ 30 ปีของการก่อตั้งมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และครบรอบ 25 ปีของการเปิดรับนักศึกษาของสำนักวิชาการจัดการ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญ เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการและพัฒนาการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น

                 พ.ศ. 2567 ปัจจุบันสำนักวิชาการจัดการ  ประกอบด้วย 3 สาขาวิชา 4 หลักสูตร ทุกหลักสูตรได้ดำเนินการปรับปรุงโฉมใหม่ ที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงยุคดิจิทัล รองรับการขับเคลื่อนมหาวิทยาลัยสู่ระดับโลกดังนี้

                               1) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์

                               2) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์

                               3) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

                               4) หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ

                   สำนักวิชาการจัดการมีวิสัยทัศน์สู่การเป็นสถานศึกษาด้านการจัดการที่นำเสนอประสบการณ์และสร้างโอกาสการเรียนรู้ที่เป็นเลิศด้านการจัดการด้วยผลงานวิจัยระดับนานาชาติ โดยมุ่งเป็นประตูสู่ความสำเร็จ (Gateway to Achievement) ที่พร้อมร่วมสร้างความสำเร็จให้กับทั้งนักศึกษา ธุรกิจ หน่วยงาน องค์กรและชุมชนท้องถิ่นโดยอาศัยศักยภาพของคณาจารย์ในสำนักวิชาการจัดการที่มีความรู้และประสบการณ์ทั้งการสอน วิจัยและประสบการณ์ในภาคธุรกิจ ในด้านการจัดการเรียนการสอน สำนักวิชาการจัดการได้ให้ความสำคัญกับการจัดการเรียนการสอนอย่างมีคุณภาพภายใต้มาตรฐานของ The United Kingdom Professional Standards Framework (UKPSF) ประเทศสหราชอาณาจักร และการจัดการสหกิจศึกษาที่เปิดโอกาสให้นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ในสำนักวิชาการจัดการได้มีโอกาสปฏิบัติงานในสถานประกอบการก่อนจบการศึกษาเป็นระยะเวลา 8 เดือน เพื่อเตรียมความพร้อมต่อการเข้าสู่ตลาดแรงงานและเป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพ

                   โดยข้อมูล ณ วันที่ 1 เมษายน 2567 สำนักวิชาการจัดการ มีบุคลากรรวมทั้งสิ้น 32 คน โดยเป็น พนักงานสายปฏิบัติการ 8 คน พนักงานสายวิชาการ จำนวน 24 คน มีคุณวุฒิปริญญาเอก 10 คน ปริญญาโท 11 คน ลาศึกษาต่อ 4 คน โดยมีผู้ดำรงตำแหน่งวิชาการระดับรองศาสตราจารย์ 3 คน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ 6 คน อาจารย์ 15 คน มีนักศึกษารวมทั้งสิ้น 844 คน จำแนกตามหลักสูตรได้ดังนี้ 

  • หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ จำนวน 279 คน
  • หลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ จำนวน 277 คน
  • หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล จำนวน 153 คน
  • หลักสูตรศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ จำนวน 135 คน
Facebook Comments