สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

               สำนักวิชาการจัดการ มีแผนการบริการวิชาการซึ่งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจของสำนักวิชาที่กำหนด โดยพัฒนาโครงการบริการวิชาการในเชิงบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนและการวิจัย ซึ่งเป็นโครงการที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของคณาจารย์ในทุกสาขาวิชาและการผลักดันของหัวหน้าสถานวิจัยในการพัฒนาโครงการบริการวิชาการในลักษณะการวิจัยรับใช้สังคม (Social Engagement) และบูรณาการกับการจัดการเรียนการสอนรายวิชา MGT60-301 พันธกิจสัมพันธ์เพื่อสังคม รวมทั้งได้จัดสรรงบประมาณกองทุนสำนักวิชาการจัดการสำหรับการดำเนินโครงการด้วย

               คณะทำงานของของโครงการได้ดำเนินการสำรวจความต้องการของชุนชนรายรอบมหาวิทยาลัย โดยคำนึงถึงความต้องการของชุมชน ความพร้อมของคณาจารย์และนักศึกษา และหน่วยงานในพื้นที่ที่มีความพร้อมและสนใจในการพัฒนาโครงการร่วมกัน ทำให้สรุปพื้นที่เป้าหมายในการดำเนินการเป็นพื้นที่ตำบลไทยบุรี โดยมีเป้าหมายโครงการเพื่อพัฒนาตลาดไทยบุรีขึ้นตามแผนของ อบต. ไทยบุรี และมีสมาชิกของกลุ่มอาชีพที่องค์การบริหารส่วนตำบลไทยบุรี (อบต.ไทยบุรี) ได้ริเริ่มพัฒนากลุ่มเข้าร่วมโครงการ รวมทั้ง คณะทำงานได้ขออนุมัติโครงการและได้รับความเห็นชอบจากศูนย์บริการวิชาการในการบรรจุเป็นโครงการวิจัยรับใช้สังคม คณะทำงานของโครงการร่วมกับ อบต.ไทยบุรีได้พัฒนาโครงการออกเป็น 4 โครงการใหญ่ ประกอบด้วย                                                              1) โครงการยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อการจัดจำหน่าย                                                                                                                                                                  2) โครงการพัฒนาระบบการบริหารตลาดชุมชน                                                                                                                                                                                3) โครงการพัฒนาสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม                                                                                                                                                                                    4) โครงการออกแบบตราสัญลักษณ์และภูมิทัศน์ตลาดชุมชน

              การดำเนินโครงการไม่สามารถทำได้ตามแผนนัก เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด แต่ผลการประเมินจากอบต.ไทยบุรีและกลุ่มอาชีพที่เข้าร่วมโครงการแสดงให้เห็นว่าโครงการนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาชุมชนโดยใช้องค์ความรู้ของคณาจารย์และนักศึกษา บูรณาการกับความต้องการของชุมชน และสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานสนับสนุนในพื้นที่ ซึ่งทำให้มีความเป็นไปได้สูงที่โครงการจะมีความยั่งยืนในการดำเนินงานและเกิดประโยชน์ต่อชุมชนในระยะยาว ประกอบกับสำนักวิชาเคยพัฒนาโครงการในลักษณะ Social Engagement ในพื้นที่โคกเหล็กมาก่อนแล้ว ซึ่งพบว่าหากมีการลงพื้นที่ในระยะยาวเช่นอย่างน้อย 2 ปีขึ้นไปจะเป็นแนวทางที่ดีในการบริการวิชาการที่เกิดผลต่อการพัฒนาชุมชน ทำให้สำนักวิชาจะวางแผนจะปรับปรุงการบริการวิชาการในลักษณะบูรณาการอีกในปีการศึกษาต่อไป

รายงานโครงการบริการวิชาการ

  1. Project                     :

      Researcher              :
      Research Grant by :

โครงการ การบริหารจัดการและขับเคลื่อนแหล่งท่องเที่ยวคุณค่าสูงพื้นที่จังหวัดกระบี่ เพื่อยกระดับความสามารถในการแข่งขันสู่การเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก
ผศ.ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)

 2. Project                     :

     Researcher              :
     Research Grant by  :

โครงการ พัฒนาทักษะการประกอบด้านบัญชีและการเงินกลุ่มทอผ้าบ้านตรอกแค ตำบลขอนหาด อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช
ผศ.ดร.ปานแก้วตา ลัคนาวานิช
กรมชลประธาน (ศูนย์อำนวยการและประสานการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนังอันเนื่องมาจากพระราชดำริ)

 3. Project                      :

     Researcher              :
     Research Grant by  :

โครงการ การศึกษาความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การเงิน ทางเลือกในการบริหารจัดการและความคิดเห็นของภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง
ผศ.ดร.จรรยา ชาญชัยชูจิต
เทศบาลเมืองทุ่งสง

Facebook Comments