สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

ชื่อหลักสูตร มคอ2

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Professional Culinary Arts


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (ศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration (Professional Culinary Arts)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

สาขาการศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถในการจัดการทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะการวิเคราะห์ และการสื่อสาร ในวิชาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ โดยบูรณาการความรู้จากสหสาขาวิชาชีพ พร้อมความรู้ความก้าวหน้าทางวิทยาการสมัยใหม่ บ่มเพาะความใฝ่รู้ ตลอดจนยึดมั่นในจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพมุ่งยกระดับการเรียนการสอนโดยการพัฒนาและสร้างความสามารถเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานด้านอุตสาหกรรมอาหารของประเทศตลอดจนตอบสนองตามกรอบแผนอุดมศึกษาระยะยาว 15 ปี ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2551-2565) ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) นโยบายไทยแลนด์ 4.0 แผนยุทธศาสตร์กลุ่มจังหวัดภาคใต้ และแผนยุทธศาสตร์จังหวัดนครศรีธรรมราช นอกจากนี้ยังเน้นการผลิตบัณฑิตที่สามารถนำความรู้และทักษะการปฏิบัติด้านวิชาชีพไปดำเนินกิจการเป็นผู้ประกอบการที่มีศักยภาพสูงในการจัดการและผลิตอาหาร ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องและยั่งยืนของประเทศต่อไป


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

สาขาการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บัณฑิตจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีสมรรถนะหลักด้านความรู้ ความสามารถ ความเป็นเลิศในทางวิชาการ รวมทั้งการมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมด้วยจิตวิทยาบริการ และการบริการมูลค่าสูงภายใต้ความเป็นไทย (Thainess) โดยจุดเด่นของบัณฑิตทางการท่องเที่ยวและการโรงแรมคือความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการทางการท่องเที่ยว มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีควบคู่กับการมีบุคลิกภาพที่ดี และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้โดยใช้การทํางานเป็นฐาน (Active Leaning) บัณฑิตสามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย อาทิ Bigdata และ AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการในตลาดโลก

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง (Expected Learning Outcomes, ELOs) 

1) ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs) คณะกรรมการบริหารหลักสูตรได้แบ่งผลลัพธ์การเรียนรู้ (LOs) ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรที่นักศึกษาทุกคนต้องผ่านเกณฑ์ (Program Learning Outcomes) และผลลัพธ์ การเรียนรู้เฉพาะกลุ่ม (Stream Learning Outcomes) ซึ่งเน้นการพัฒนานักศึกษาที่มีศักยภาพให้มีขีด ความสามารถสูงขึ้นตามความสามารถและความสนใจของนักศึกษา
PLO1 สามารถคัดสรรวัตถุดิบ และประกอบอาหารขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ ตามหลักมาตรฐานความปลอดภัยสากล
PLO2 สามารถคำนวณต้นทุน วิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนินงาน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการประกอบอาหาร
PLO3 ความคิดสร้างสรรค์ในการประกอบอาหารตามกระแสความนิยมของธุรกิจอาหารระดับประเทศ และระดับสากล
PLO4 มีความรับผิดชอบ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี ทั้งผู้ประกอบการและผู้บริโภค
PLO5 สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าที่เกิดขึ้นในธุรกิจอาหาร ตั้งเเต่ ก่อน ระหว่าง และหลังการให้บริการ
PLO6 สามารถสื่อสารภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ
SLO7 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะการประกอบอาหารเฉพาะด้าน ในการจัดการบริการอาหารเชิงพาณิชย์อย่างมีประสิทธิภาพตามมาตรฐานสากล อาทิ อาหารไทย อาหารตะวันตก อาหารตะวันออก ขนมอบและขนมหวาน
SLO8 สามารถวิเคราะห์และประเมินสภาวะทางการตลาดของธุรกิจอาหารระดับชาติ และระดับนานาชาติ ในการพัฒนาสินค้าและการบริการให้ตรงความต้องการของผู้บริโภคในตลาดปัจจุบัน
SLO9 สามารถวางแผนและสร้างงานวิจัยระดับชาติทางด้านศิลปะการประกอบอาหาร ธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม และการท่องเที่ยวเชิงอาหาร
SLO10 สามารถนำความรู้และทักษะการประกอบอาหารไปใช้ในการเรียนรู้และการทำงานจริงนอกเหนือจากในชั้นเรียน

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง รายชั้นปี (Year Learning Outcomes, YLOs) 

ชั้นปีที่ 1 นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านการประกอบอาหารและสามารถประกอบอาหารขั้นพื้นฐานอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถนำความรู้พื้นฐานด้านการประกอบอาหารมาใช้ได้
ชั้นปีที่ 2 นักศึกษามีความรู้และความสามารถในการบริหารจัดการ ในส่วนของการจัดการต้นทุน การวิเคราะห์ความคุ้มค่าของการดำเนินงาน และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในธุรกิจอาหาร
ชั้นปีที่ 3 นักศึกษามีความรู้และความสามารถด้านการประกอบอาหารหลากหลายแขนงได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความพร้อมความสามารถบริหารและจัดการ มีทักษะ สามารถประยุกต์ใช้ในธุรกิจอาหารและด้านการประกอบอาหารได้
ชั้นปีที่ 4 นักศึกษามีความพร้อม มีสมรรถนะในวิชาชีพ และมีทักษะขั้นสูง สามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการและธุรกิจด้านอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งการบริหารและการจัดการในธุรกิจอาหารและด้านการประกอบอาหารขั้นสูง


แนวทางประกอบอาชีพ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ ได้ออกแบบไว้เพื่อให้นักศึกษาที่จบการศึกษาสามารถทำงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดการครัว ภัตตาคาร ธุรกิจการให้บริการอาหารและเครื่องดื่ม หรือธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาหารและบริหารจัดการภัตตาคาร หรือธุรกิจที่พัก โรงแรมและรีสอร์ท โดยผู้จบการศึกษาสามารถเลือกตำแหน่งงานในด้านต่างๆ อันได้แก่

1)  การประกอบอาหาร อาหารไทย อาหารตะวันตก อาหารตะวันออก และอาหารนานาชาติ

2)  การประกอบอาหารประเภทเบเกอรี่ ขนมอบ ขนมหวาน และขนมไทย

3)  เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านการผลิตและบริการอาหาร ในอุตสาหกรรมอาหาร

4)  นักพัฒนาตำรับอาหารและรายการอาหารในอุตสาหกรรมอาหาร

5)  นักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในอุตสาหกรรมอาหาร

6)  ผู้ประกอบการหรือประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการผลิตและจำหน่ายอาหาร

7)  อาจารย์/นักวิชาการ ด้านครัวและศิลปะการประกอบอาหาร


แนวทางการศึกษาต่อ

สามารถศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพหรือสาขาอื่นๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 22,400.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 268,800.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า179 หน่วยกิต
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป40 หน่วยกิต
     (1)   กลุ่มวิชาภาษา20 หน่วยกิต
     (2)  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์8 หน่วยกิต
     (3)  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์8 หน่วยกิต
     (4)  กลุ่มวิชาบูรณาการ4 หน่วยกิต
     (5)  กลุ่มวิชาสารสนเทศ*     4 หน่วยกิต
2. หมวดวิชาเฉพาะ114 หน่วยกิต
     (1)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ34 หน่วยกิต
     (2)  กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน80 หน่วยกิต
          2.1 วิชาเฉพาะบังคับ56 หน่วยกิต
          2.2 วิชาเฉพาะเลือก      24 หน่วยกิต
3. หมวดเลือกเสรี8 หน่วยกิต
4. หมวดวิชาสหกิจศึกษา/ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ17 หน่วยกิต
Facebook Comments