สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

สำนักวิชาการจัดการ ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยคุณภาพ ในเวทีความร่วมมือ “วลัยลักษณ์ – วุฒิสภา” เชื่อมโยงข้อมูลวิชาการสู่การขับเคลื่อนนโยบาย

กิจกรรมศึกษาดูงานและประชุมหารือ เตรียมความพร้อมตามโครงการเชื่อมโยงข้อมูลผลงานด้านวิชาการและงานวิจัย
📅วันที่ 16 มิถุนายน 2568 ณ ห้องประชุมโมคลาน อาคารศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสอ้าน มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้จัดกิจกรรม ศึกษาดูงานและร่วมประชุมหารือ เพื่อเตรียมความพร้อมตามโครงการเชื่อมโยงข้อมูลผลงานด้านวิชาการและงานวิจัย ระหว่าง สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา และ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
กิจกรรมได้รับเกียรติกล่าวต้อนรับจาก
ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ( อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ )
และ กล่าวเปิดงานโดย
นายพีระพจน์ รัตนมาลี ( รองเลขาธิการวุฒิสภา )
หลังพิธีเปิด ได้มีการประชุมหารือในหัวข้อ
“ทิศทางการสร้างความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงาน เพื่อเตรียมความพร้อมตามโครงการเชื่อมโยงข้อมูลผลงานด้านวิชาการและงานวิจัย”
โดยมีการแลกเปลี่ยนแนวคิดเชิงนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาฐานข้อมูลร่วมและการนำผลงานวิชาการเข้าสู่กระบวนการจัดทำนโยบายสาธารณะ
ในช่วงการนำเสนองานวิจัย ได้รับความสนใจอย่างยิ่งจากผลงานวิจัยของคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผลงานวิจัยของสำนักวิชาการจัดการ ได้แก่
📌 โครงการวิจัยเรื่อง “การพัฒนาการตลาดของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการในพื้นที่ต้นแบบเส้นทางท่องเที่ยวรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพสูงกลุ่มพิเศษสุขภาพ” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์
เป็นโครงการที่มุ่งสร้างแนวทางการยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในพื้นที่เป้าหมาย ด้วยการออกแบบผลิตภัณฑ์และบริการที่ตอบโจทย์กลุ่มนักท่องเที่ยวคุณภาพสูง พร้อมพัฒนาโมเดลการตลาดที่ยั่งยืนและใช้ข้อมูลวิจัยเป็นฐานสำคัญ
📌 แผนวิจัย “การยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวและบริการที่มุ่งยกระดับอัตลักษณ์ท้องถิ่นสู่อัตลักษณ์จังหวัดกระบี่ในพื้นที่เชื่อมโยง”
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์
มุ่งเน้นการพัฒนาแนวทางบริหารจัดการฐานข้อมูลนักท่องเที่ยวในเชิงพื้นที่ และการสร้างจุดแข็งเชิงวัฒนธรรมและบริการให้เป็นเอกลักษณ์ระดับจังหวัด เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับการท่องเที่ยวในพื้นที่เชื่อมโยงของภาคใต้ฝั่งอันดามัน
การนำเสนอผลงานวิจัยในครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญในการแสดงศักยภาพของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ในการผลิตงานวิชาการที่ตอบสนองความต้องการของภาครัฐ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงนโยบายอย่างเป็นรูปธรรม
กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ที่มีเป้าหมายร่วมกันคือ การเชื่อมโยงข้อมูล งานวิจัย และนวัตกรรม เพื่อนำไปสู่การออกแบบนโยบายที่มีประสิทธิภาพและส่งผลต่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
 
 
 
Facebook Comments