สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

สำนักวิชาการจัดการ เสวนาพิเศษบนเวที Highlight Stage มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2568

 
📅วันอังคารที่ 17 มิถุนายน 2568
รองศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และหัวหน้าสาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สำนักวิชาการจัดการ ได้รับเกียรติเป็นผู้นำการเสวนาพิเศษบนเวที Highlight Stage ในงาน Thailand Research Expo 2025 ณ บางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ กรุงเทพมหานคร
การเสวนาดังกล่าวมีที่มาจากโครงการวิจัยชุด “การจัดการทุนทางวัฒนธรรมฐานความเชื่อโดยรอบสันทรายโบราณ เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช” ซึ่ง รองศาสตราจารย์ปรัชญา กฤษณะพันธ์ รองคณบดีสำนักวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์และการออกแบบ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าโครงการวิจัย และเป็นแกนกลางสำคัญในการผลักดันแนวคิด “เปลี่ยนศรัทธาเป็นเศรษฐกิจ สร้างคุณค่าจากของเหลือใช้ สู่ผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่มีพลังเชิงวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ”
ในเวทีเสวนาครั้งนี้ ท่านได้นำเสนอแนวคิดการต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ความศรัทธา และวัตถุจากพิธีกรรม เช่น หางประทัด และไก่ปูนแก้บน ให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ที่ส่งเสริม Soft Power ของไทย ตัวอย่างผลงานวิจัยที่โดดเด่น ได้แก่
📌“กระเป๋าหางประทัดแห่งความสำเร็จ” จากหางประทัดแก้บน
📌“อิฐต่อ ก่อบุญ” วัสดุก่อสร้างรักษ์โลกจากเศษหางประทัดและไก่ปูน
📌“Art Toy ไก่ศรัทธา” ผลงานศิลปะร่วมสมัยจากเศษไก่ปูน
นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ ยังได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยมากกว่า 30 คนในมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายศาสตร์ร่วมเสวนาและนำเสนอผลงานเชิงสร้างสรรค์ในเวทีนี้ด้วย
การแสดงวิสัยทัศน์ในครั้งนี้ ถือเป็นการตอกย้ำบทบาทของ รองศาสตราจารย์ ดร. ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ในการผลักดันงานวิจัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่ สร้างต้นแบบของการนำทุนวัฒนธรรมมาสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ พร้อมต่อยอดสู่เวทีระดับประเทศและนานาชาติอย่างยั่งยืน
Facebook Comments