สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

หลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Logistics Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการโลจิสติกส์)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการโลจิสติกส์)

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Logistics Management)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Logistics Management)

โลโก้หลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

                เป็นหลักสูตรที่มุ่งผลผลิตบัณฑิตให้สามารถประยุกต์ความรู้ด้านบริหารธุรกิจและการจัดการโลจิสติกส์ มีทักษะในการคิดวิเคราะห์การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และซอฟแวร์ประยุกต์ทางโลจิสติกส์ เพื่อพัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ ภายใต้รอบแนวคิด “เก่งวิชาการ เชี่ยวชาญปฏิบัติ”

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

ผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน รวมทั้งยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศด้านการพัฒนาบุคลากรทางด้านโลจิสติกส์ ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ ตลอดจนการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม

ผลิตบัณฑิตที่มีความสามารถ ทักษะและสมรรถนะในการทำงาน ด้านโลจิสติกส์ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน

ผลิตบัณฑิต เพื่อตอบสนองต่อยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยด้านการวิจัย

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ 4 ด้าน ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565

จุดเด่นหรือจุดเน้นของหลักสูตรที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน

1) หลักสูตรฯ เน้นเสริมสร้างทักษะการวิเคราะห์เชิงลึกและการวางแผนกลยุทธ์ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลและซอฟต์แวร์ประยุกต์ทางโลจิสติกส์ต่อเนื่องตลอดหลักสูตร

2) หลักสูตรฯ เน้นเสริมสร้างทักษะการเป็นผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ ที่สามารถบริหารธุรกิจแสวงหาโอกาส และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน

3) หลักสูตรฯ จัดการเรียนการสอนตามกรอบมาตรฐานวิชาชีพ เพื่อการสอนและการสนับสนุนการเรียนรู้ที่มีคุณภาพของประเทศอังกฤษ (UKPSF) ที่เน้นการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning) และการให้ความสำคัญกับผู้เรียนรายบุคคล

4) หลักสูตรฯ มีระบบสหกิจศึกษา 2 ภาคการศึกษา 8 เดือน เพื่อบูรณาการความรู้ด้านโลจิสติกส์กับการทำงานจริงพร้อมเสริมสร้างทักษะการทำงานเป็นทีม และการเคารพกฎระเบียบในการทำงาน

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ ได้แก่

          1.นักวิเคราะห์และวางแผนโลจิสติกส์
         2.พนักงานแผนกจัดส่งหรือ พนักงานวางแผนการขนส่ง หรือพนักงานขนส่ง และกระจายสินค้า
         3.พนักงานตรวจสอบสินค้า คงคลัง หรือพนักงานควบคุมสินค้าคงคลัง
         4.พนักงานจัดซื้อ จัดหา จัดจ้าง
         5.พนักงานคลังสินค้า หรือ พนักงานควบคุมคลังสินค้า
         6.พนักงานขาย ในบริษัท ตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
         7.พนักงานบริการลูกค้า ในบริษัทตัวแทนรับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ
         8.พนักงานแผนกนำเข้า
         9.พนักงานแผนกส่งออก
        10.เจ้าของธุรกิจ 
           ..เป็นต้น..

ค่าธรรมเนียม

ระบบทวิภาค

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,100 บาท        
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,800 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

1) ปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติ

หมวดวิชา

หน่วยกิตตาม
เกณฑ์ อว. พ.ศ. 2565

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง
ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

24

26

โดยเลือกภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต
หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

72

88

         1) กลุ่มวิชาธุรกิจ

 

24

         2) กลุ่มวิชาโลจิสติกส์

 

51

             2.1) กลุ่มพื้นฐานโลจิสติกส์

 

18

             2.2) กลุ่มขนส่งระหว่างประเทศ

 

9

             2.3) กลุ่มวิเคราะห์เชิงลึกและวางแผน

 

15

             2.4) กลุ่มบูรณาการทางธุรกิจและโลจิสติกส์

 

9

          3) กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

 

13

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

6

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

120

120

หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นโดยเพิ่มหน่วยกิต 2 หน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ที่กำหนดไว้ให้วิชาศึกษาทั่วไป มีจำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

Facebook Comments