สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,
สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู้และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,SMWU

สำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่ปลูกป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมโฮมเสตย์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการ SI (Setting and Infrastructure) เพื่อเชื่อมโยง UI Green Metric และ SDG13

สำนักวิชาการจัดการ ร่วมกับ ศูนย์บริการวิชาการ ลงพื้นที่ปลูกป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมโฮมเสตย์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช

ภายใต้โครงการ SI (Setting and Infrastructure) เพื่อเชื่อมโยง UI Green Metric และ SDG13

วันจันทร์ที่ 2 กันยายน 2567

สำนักวิชาการจัดการ นำโดย

รองศาสตราจารย์ ดร.ลักษณ์นารา ขวัญชุม

อาจารย์นิรมล ระหว่างงาม

          ร่วมกับอาจารย์ประจำสำนักวิชาครุศาสตร์และศิลปศาสตร์ นักศึกษาสำนักวิชาการจัดการ และ นักศึกษาสำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ และศูนย์บริการวิชาการ ร่วมลงพื้นที่ปลูกป่าชายเลน เพื่อเพิ่มพื้นที่กักเก็บคาร์บอน ณ วิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยวบ้านแหลมโฮมเสตย์ อำเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช ภายใต้โครงการ SI (Setting and Infrastructure) เพื่อเชื่อมโยง UI Green Metric และ SDG13

          ซึ่งคณะอาจารย์และนักศึกษาได้ดำเนินการจัดกิจกรรมปลูกป่าชายเลน โดยปลูกไม้สกุลโกงกาง เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว และ เพิ่มพื้นที่การกักเก็บคาร์บอน การปลูกป่าชายเลนจะสามารถช่วยดูดซับคาร์บอนได้มากกว่าป่าไม้อื่น ๆ ในพื้นที่เท่ากัน ป่าชายเลนสามารถสะสมคาร์บอนในดินได้มากกว่าป่าบกถึง 6 เท่า การกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ของไม้สกุลโกงกาง เฉลี่ยเท่ากับ 2.75 ตันต่อไร่ต่อปี ดังนั้น การปลูกป่าชายเลนจึงมีประโยชน์ในหลายมิติ ทั้งเป็นการเพิ่มพื้นที่ป่า เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของป่าไม้ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน ในการประกอบอาชีพตามวิถีชุมชนในเขตป่าชายเลน

          การดำเนินการดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายตาม SDG ข้อที่ 13 การรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Action) และข้อที่ 17 (Partnerships for the Goals) สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายและหน่วยงานต่าง ๆ ทีเกี่ยวข้อง รวมทั้งสอดคล้องกับเป้าหมาย UI Green Metric World University Ranking ด้าน Setting and Infrastructure อีกด้วย

 

#SMWU

#บริการวิชาการ

#สำนักวิชาการจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

Facebook Comments