สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

คณบดีสำนักวิชาการจัดการ : ศึกษาสมาร์ทซิตี้ที่เกาหลีกับการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ เมืองภูเก็ต

 

          รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส คณบดีสำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้ไปศึกษาเกี่ยวกับสมาร์ทซิตี้ (Smart City) ที่ประเทศเกาหลี ช่วงปี 2559 โดยได้สรุปสาระน่ารู้ที่ได้ไปศึกษาดูงานที่นั่นกับแนวคิดการพัฒนาเมืองภูเก็ตและความเป็นไปได้ในการดำเนินการ

          รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ พร้อมด้วยคณะจากเทศบาลนครภูเก็ตและเทศบาลเมืองป่าตอง จังหวัดภูเก็ต (ได้รับการคัดเลือกจากรัฐบาลให้เป็นเมืองนำร่องที่จะพัฒนาให้เป็นเมืองสมาร์ทซิตี้) และสำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) (SIPA) ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานที่ประเทศเกาหลีในหลากหลายสถานที่ อาทิ บริษัท CISCO, บริษัท IBM ทำให้ทราบว่า สมาร์ทซิตี้มีอะไรบ้าง ได้เห็นตัวอย่างที่ทำจริงและแบบจำลอง เพราะทั้งสองบริษัทเป็นผู้จัดทำระบบต่างๆ เป็นผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านไอทีที่ต้องใช้ในแต่ละองค์ประกอบใน Platform หรือพื้นที่ทำงานของสมาร์ทซิตี้ที่จะเชื่อมต่อข้อมูลและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น real time

         ที่ Busan Metropolitan City รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ ได้ไปเยี่ยมชม IoT Global Smart City Campus ซึ่งเป็นหน่วยงานจัดการบางส่วนขององค์ประกอบด้านที่เป็นสมาร์ทซิตี้ของเมืองนี้ เช่น Transportation System Intelligent ที่ควบคุมดูแลการจรจรขนส่งของเมือง ในแง่การติดตามรายงานและแจ้งเหตุของเมือง Busan Education Research and Information Center ห้องสื่อสารระหว่างโรงเรียนและผู้ปกครอง ครูและนักเรียน รวมทั้งการฝึกอบรมครูในด้านทักษะการใช้ระบบนี้และการจัดทำหลักสูตรการฝึกอบรม เป็นต้น SASANG CCTV เป็นศูนย์ทีวีที่ใช้ตรวจสอบคุณภาพน้ำ การจราจร สิ่งแวดล้อม รวมทั้งสภาพอากาศและคุณภาพของเมือง Maritime Medical Research Center และ PNUH Convergent Medical Institute of Technology โดยเฉพาะเทเลเมดดิซิน tele medicine ของ PNU : Pusan National University Hospital ที่ให้บริการคนไข้ที่อยู่ในเรือขนส่งสินค้าตู้คอนเทนเนอร์ ซึ่งต้องอยู่ในทะเลเป็นเวลา 6 เดือน ในท่าเรือใหญ่ๆของเกาหลี และ Busan Center of Creation Economy and Innovation สนับสนุนและจัดตั้งโดยห้าง LOTTE ศูนย์การค้ายักษ์ใหญ่ของประเทศเกาหลี โดยบริษัทจะทำหน้าที่เป็นผู้ขายหรือเป็นช่องทางการจำหน่ายให้ใครก็ได้ที่สามารถคิดค้นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์และเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาดำเนินการผลิตเพื่อขายได้ ศูนย์นี้จึงมีสโลแกนว่า Creative Ideas: A Step to the better Future เป็นที่มาของคำว่า Start Up

         Innovation Incubation Center เป็นศูนย์นวัตกรรมของเมืองปูซานศูนย์หนึ่ง มีหน่วยงานปฎิบัติการที่คอยตรวจสอบความปลอดภัยของการโจรกรรมข้อมูล โดยมี UBI-Way เป็นผู้ดำเนินการ และศูนย์สมาร์ทซิตี้เมือง Seocho เริ่มเมื่อปี 2007 เป็นแห่งแรกของกรุงโซลและประเทศเกาหลี เนื่องจากปัญหาน้ำท่วม และเพื่อแก้ไขปัญหารการจราจร ที่จอดรถ ความปลอดภัยของเมืองและประชาชน โดยเป็นศูนย์ข้อมูลและการติดต่อระหว่างประชาชนและเขตในลักษณะ one stop service เพื่อลดเวลาในการติดต่อทำธุรกรรมของประชาชน

          จากการที่ได้ไปศึกษาดูงานครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ อภิบุณโยภาส ได้แสดงความคิดเห็นว่า การที่รัฐบาลได้คัดเลือกให้จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดนำร่องการจัดทำโครงการเมืองอัจฉริยะหรือ Smart City เป็นแห่งแรกของประเทศไทยและได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจกับเมืองปูซาน ประเทศเกาหลี จึงเป็นความท้าทายของผู้บริหารระดับสูงสุด ซึ่งต้องเป็นผู้ประสานสิบทิศทั้ง SIPA และ อปท ทั้ง 19 แห่งของภูเก็ต เพื่อขับเคลื่อนการทำงานที่จริงจังให้เกิดเป็นรูปธรรมหรือเป็นจริงให้ได้ และบรรลุเป้าหมายของโครงการในปี 2020

          อย่างไรก็ตาม รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ ได้ตั้งข้อสังเกตเบื้องต้น โดยยกตัวอย่างเกี่ยวกับกล้องซีซีทีวี ว่า ในเขตเทศบาลภูเก็ตมีกล้องซีซีทีวีจำนวนมาก แต่มีหลายหน่วยงานเป็นเจ้าของ และต่างคนต่างทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลของตัวเอง จึงยังขาดการบูรณาการและการใช้ประโยชน์ร่วมกัน ถือว่า เป็นการท้าทายความสามารถของการจัดการ ดังนั้น การออกแบบแผนแม่บทหรือภาพรวมโครงสร้างของข้อมูลที่เรียกว่า big data ที่จะนำมาวิเคราะห์ยังขาดเอกภาพพอสมควร

          รองศาสตราจารย์ ดร.จีรเกียรติ ได้กล่าวในตอนท้ายว่า กว่าจะถึงวันนั้น วันที่ภูเก็ตจะเป็นสมาร์ทซิตี้ได้เหมือนของประเทศเกาหลี คงจะต้องลุ้นและเป็นกำลังใจให้เธอ “เทศบาลนครภูเก็ตและเทศบาลเมืองป่าตอง” ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นเมืองนำร่องของจังหวัดภูเก็ต ที่เดินทางมาตั้งแต่ปี 2559 หรือ 2016 และจะครบตามเป้าหมายของการเป็นเมืองสมาร์ทซิตี้ ในปี 2020 หรือปี 2563 คงไม่นานเกินรอ

Facebook Comments