สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

 

การยกระดับศักยภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเล
จังหวัดนครศรีธรรมราช (ท่าศาลา – สิชล – ขนอม)

 

          สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  ดำเนินโครงการบริการวิชาการรับใช้สังคม โดยมุ่งเน้นในด้านการให้ความรู้และยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนในพื้นที่ รวมทั้งเพื่อให้การบริการคำปรึกษา ถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรม  ตลอดทั้งส่งเสริมและผลักดันให้เกิดการรวมตัวผู้ประกอบการ ชุมชน และประชาชนในพื้นที่ โดยใช้องค์ความรู้จากทั้ง 3 สาขาวิชาในสำนักวิชาการจัดการได้แก่ สาขาวิชาการตลาด สาชาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ และสาขาวิชาการท่องเที่ยวและโปรเชฟ

         สำนักวิชาการจัดการมุ่งเน้นบูรณาการองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวและยกระดับศักยภาพของแหล่งท่องเที่ยว โดยเฉพาะอย่างยิ่งแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล ที่มีเป็นสิ่งดึงดูดนักท่องเที่ยว และเป็นทรัพยากรที่จะสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน การยกระดับศักยภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราชในพื้นที่อำเภอท่าศาลา อำเภอสิชล และอำเภอขนอม จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะสร้างให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีความพร้อมและศักยภาพในการรองรับนักท่องเที่ยวที่จะเดินทางมาท่องเที่ยวในช่วงระหว่างและหลักงโควิด-19 ต่อไป รวมทั้งการสร้างภาคีเครือข่ายความร่วมมือ การเปิดเวทีเพื่อรับทราบปัญหาและความต้องการโดยตรงจากผู้ประกอบการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ เพื่อให้สำนักวิชาการจัดการให้การสนับสนุนและการทำงานร่วมกันภายใต้ภารกิจบริการวิชาการและวิจัยในอนาคต โดยมีวัตถุประสงค์ คือ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

  1. เพื่อระดมความคิดเห็นในด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราชการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. เพื่อส่งเสริมและการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช

ภายใต้โครงการดังกล่าว แบ่งเป็น กิจกรรมย่อย 6 กิจกรรมได้แก่

กิจกรรมที่ 1 การระดมความเห็นเพื่อยกระดับและพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวเมืองชายฝั่งนครศรีธรรมราช
กิจกรรม 2 การพัฒนาและยกระดับผู้ประกอบการธุรกิจการท่องเที่ยวและแหล่งท่องเที่ยวทางทะเล และ กิจกรรม 3  สุขาภิบาลและความปลอดภัยทางด้านอาหาร
กิจกรรม 4 การพัฒนาระบบ Logistics เพื่อการท่องเที่ยวเมืองชายฝั่ง
กิจกรรม 5  การพัฒนาและส่งเสริมการตลาด/สื่อเพื่อการท่องเที่ยว
กิจกรรม 6 การสร้างเครือข่ายการพัฒนาการท่องเที่ยวทางทะเลและชายฝั่งในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช

ความสอดคล้องกับ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) 

โครงการการยกระดับศักยภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาเมืองชายฝั่งทะเลจังหวัดนครศรีธรรมราช (ท่าศาลา – สิชล – ขนอม)  มีความสอดคล้อง 6 ประเด็นดังต่อไปนี้

1.ขจัดความยากจนทุกรูปแบบ ทุกสถานที่ (No poverty)
โครงการฯ ช่วยสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน รวมทั้งให้ความรู้ในด้านการท่องเที่ยวและการบริการ เช่น ให้ความรู้เกี่ยวกับการขายอาหารริมทาง ซึ่งช่วยให้ชุมชนมีความรู้และขายสินค้าได้รายได้เพิ่มขึ้น                                                                                                                                     

2.รับรองการศึกษาที่เท่าเทียมและทั่วถึง ส่งเสริมการเรียนรู้ ตลอดชีวิตแก่ทุกคน (Quality education)     โดยโครงการได้การพัฒนากลุ่มแม่บ้านในการทำอาหารจำหน่ายในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวทางทะเล

 

3.ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจ ที่ต่อเนื่องครอบคลุมและยั่งยืน การจ้างงานที่มีคุณค่า (Decent Work and Economic  Growth) การส่งเสริมและยกกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวในพื้นที่ ส่งเสริมให้มีการเติบโตทางฌศรษฐกิจในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอขนอม สิชล และท่าศาลา

4.ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความปลอดภัย ทั่วถึง พร้อมรับการเปลี่ยนแปลง  และพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Cities and Communities) การยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว ในด้านความปลอดภัย การเดินทางขนส่งในพื้นที่แหล่งท่องเที่ยว รวมทั้งเส้นทางท่องเที่ยว ส่งผลให้มีความปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยวในพื้นที่

  5.ปกป้อง ฟื้นฟู และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศทางบกอย่างยั่งยืน (Life on Land) การส่งเสริมมาตรฐานการท่องเที่ยวช่วยในด้านการให้ความรู้แก่ชุมชน และผู้ประกอบการในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม และลดผลกระทบจากการท่องเที่ยว

 

6.สร้างพลังแห่งการเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Partnerships to achieve the Goal) โครงการเกิดการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการท่องเที่ยว นักวิชาการ และชถมชนท้องถิ่น ส่งผลให้ความการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น และนำไปสู่การพัฒนาในพื้นที่อย่างยั่งยืน

 

Facebook Comments