สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาธุรกิจ

ภาษาอังกฤษ: Master of Business Administration Program in Innovation Management and Business Development


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาธุรกิจ)

ภาษาอังกฤษ: Master of Business Administration (Innovation Management and Business Development)


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สำนักวิชาการจัดการ มุ่งผลิตมหาบัณฑิตให้สามารถบูรณาการความรู้ภาคทฤษฎีและทักษะภาคปฏิบัติ เพื่อปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ตลอดจนมีคุณธรรมและจริยธรรม รับผิดชอบต่อสังคม ส่วนรวมเป็นสำคัญ


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

“มหาบัณฑิตสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้เพื่อการสร้างธุรกิจ หรือทำงานในองค์กรต่างๆที่ประยุกต์ใช้ความรู้ทางธุรกิจ ตามแนวนโยบายประเทศไทย 4.0 ซึ่งเป็นการดำเนินธุรกิจที่มีความริเริ่มสร้างสรรค์และสามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีใน การประกอบธุรกิจได้อย่างเหมาะสม มีทักษะในวิเคราะห์และเชื่อมโยงข้อมูลในการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมโลก ประเทศ และภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์หาโอกาสและการแก้ปัญหาทางธุรกิจ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกับสาขาวิชาบริหารธุรกิจมาประยุกต์ใช้ร่วมกับวิธีการดำเนินธุรกิจในรูปแบบต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาและตอบสนองต่อการดำเนินธุรกิจในบริบทต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม ตระหนักซึ่งความรับผิดชอบต่อสังคม มีความรู้และทักษะในการทำงานด้านบริหารธุรกิจอันพึงประสงค์ขององค์กรต่างๆ”


แนวทางประกอบอาชีพ

มหาบัณฑิตบริหารธุรกิจของหลักสูตรสามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในองค์การภาครัฐและเอกชน รวมทั้งประกอบธุรกิจส่วนตัว อาทิ ในองค์การภาครัฐสามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งอาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักวิเคราะห์ นักวางแผน เจ้าหน้าที่ด้านการบริหาร ส่วนองค์การภาคเอกชนซึ่งได้แก่ บริษัท ธนาคาร สถาบันการเงิน เป็นต้น สามารถปฏิบัติงานในตำแหน่งเจ้าหน้าที่วิเคราะห์สินเชื่อ นักการตลาด เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์ ที่ปรึกษา ตลอดจนผู้บริหารขององค์การ นอกจากนี้สามารถนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปสร้างและประกอบธุรกิจของตนเองตามความถนัดของแต่ละบุคคล


แนวทางการศึกษาต่อ

มหาบัณฑิตสามารถศึกษาต่อระดับปริญญาเอก ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ หรือสาขาอื่นๆ ได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 29,000.- บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 174,000.- บาท


โครงสร้างหลักสูตร

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 51 หน่วยกิต (หลักสูตร 2 ปี) 
1 หลักสูตรแผน ก แบบ ก 2
   
 (1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน12 หน่วยกิต
 (2) หมวดวิชาบังคับ36 หน่วยกิต
 (3) วิทยานิพนธ์15 หน่วยกิต
   
2. หลักสูตรแผน ข 
 (1) หมวดวิชาเสริมพื้นฐาน12 หน่วยกิต
 (2) หมวดวิชาบังคับ36 หน่วยกิต
 (3) หมวดวิชาเลือก8 หน่วยกิต
 (4) การค้นคว้าอิสระ7 หน่วยกิต
   
3. หมวดวิชาเลือกเสรี6 หน่วยกิต

เว็บไซต์หลักสูตร

Facebook Comments