สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

 

ชื่อหลักสูตร มคอ2

ภาษาไทย: หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Digital Marketing and Branding


ชื่อปริญญา

ภาษาไทย: บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์)

ภาษาอังกฤษ: Bachelor of Business Administration Program in Digital Marketing and Branding


ปรัชญา / วัตถุประสงค์

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ มุ่งมั่นที่จะผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ ทักษะ ใฝ่รู้ และมีจริยธรรมในวิชาชีพ มีความรับผิดชอบต่อสังคม รวมทั้งมีความรู้พื้นฐานเพื่อศึกษาในระดับสูง สร้างความเป็นเลิศทางวิชาการด้วยประสบการณ์จากการฝึกปฏิบัติงานจริงผ่านระบบสหกิจศึกษา ตลอดจนรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ และสามารถประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้


คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

1. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญด้านการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ 2. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีจริยธรรมในการประกอบอาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม 3. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้กับสภาพความเป็นจริงของสังคมได้ 4. บัณฑิตต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ในวิชาชีพผ่านระบบสหกิจศึกษา

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร

PLO 1 สามารถอธิบายแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานทางด้านการตลาดดิจิทัล และการสร้างแบรนด์ ได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
PLO 2 สามารถประยุกต์แนวคิดทฤษฎีพื้นฐานทางด้านการตลาดดิจิทัล และการสร้างแบรนด์ไป เชื่อมโยงกับแนวคิดทางด้านอื่นๆในการบริหารจัดการองค์กรและการทำธุรกิจได้
PLO 3 สามารถอธิบายและแสดงให้เห็นถึงความมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณในการประกอบอาชีพด้านการตลาดดิจิทัล และการสร้างแบรนด์และแสดงให้เห็นถึงความมีจิตสำนึกในการรับผิดชอบต่อสังคม
PLO 4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ และสามารถสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ที่จำเป็นในการประกอบอาชีพทางด้านการตลาดดิจิทัล และการสร้างแบรนด์ได้
PLO 5 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบแบบองค์รวม สามารถบูรณาการความรู้เพื่อแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไปได้อย่างเหมาะสม


แนวทางประกอบอาชีพ

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ เช่น • ผู้บริหารระดับต้นแผนกตราสินค้า (Brand Supervisor) • เจ้าหน้าที่การตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Officer) • เจ้าหน้าที่การตลาดออนไลน์ (Online Marketing Officer) • เจ้าหน้าที่ฝ่ายเนื้อหาดิจิทัล (Digital Content Officer) • เจ้าหน้าที่แผนกตราสินค้า (Brand Officer) • เจ้าหน้าที่แผนกนำเข้า/ส่งออก (Import/Export Officer) • เจ้าหน้าที่ฝ่ายลูกค้าสัมพันธ์ (Customer Relationship Officer) • เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณา (Advertising Officer) • เจ้าหน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ (Public Relation Officer) เป็นต้น รวมทั้งการประกอบอาชีพทำธุรกิจส่วนตัวแบบ Startup หรือ การนำความรู้ที่ได้ไปต่อยอดธุรกิจของครอบครัว


แนวทางการศึกษาต่อ

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ เน้นให้บัณฑิตนั้นสามารถค้นคว้าและทำวิจัยได้ด้วยตนเอง เพื่อสร้างพื้นฐานในการศึกษาต่อในระดับปริญญาโท และปริญญาเอก ในสาขาวิชาบริหารธุรกิจ สาขาการตลาด หรือสาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้ ในทุกสถาบันการศึกษาทั้งในและต่างประเทศ


ค่าธรรมเนียม

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 14,400 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 172,800 บาท


โครงสร้างหลักสูตร แผนการศึกษาใหม่

จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า
 157credits
1. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป
 40credits
 1.กลุ่มวิชาภาษา20credits
 2.กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์8credits
 3.กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์8credits
 4.กลุ่มวิชาบูรณาการ4credits
 5.กลุ่มวิชาสารสนเทศ*4credits
หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร
  credits
2. หมวดวิชาเฉพาะ
 109credits
 1.กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ44credits
 2.กลุ่มวิชาเอก48credits
 3.กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา17credits
3. หมวดวิชาเลือกเสรี
 8credits
Facebook Comments