สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล

เล่มหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ระบบไตรภาค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration in Tourism and Hospitality Management in Digital Era.

(ใช้สำหรับนักศึกษาปีการศึกษา  2565 -2566 )

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล)      

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Tourism and Hospitality Management in Digital Era)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Tourism and Hospitality Management in Digital Era)

โลโก้หลักสูตร

ปรัชญาทางการศึกษา

       “เก่งวิชาการ เชี่ยวชาญการปฏิบัติ”

 

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการท่องเที่ยวและการบริการที่มีคุณลักษณะและสมรรถนะดังต่อไปนี้ 

  – มีคุณธรรม จริยธรรม มีจิตบริการและความรับผิดชอบต่อสังคมตามจรรยาบรรณวิชาชีพ

  – มีความรอบรู้ทางวิชาการ และทักษะทางวิชาชีพในศาสตร์ทางการท่องเที่ยวและการบริการ มีความสามารถในการปฏิบัติงาน การให้บริการ และบริหารจัดการในระดับสากลและเป็นที่ยอมรับ

   – มีทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์ โดยประยุกต์ใช้ความรู้ เหตุผลและวิจารณาญาณอย่างเหมาะสมเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ต่างๆ

   – มีบุคลิกภาพดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในทุกระดับได้อย่างเหมาะสม สามารถพัฒนาตนเอง ทั้งด้านความรู้และทักษะวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง

   – มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศดิจิทัลสำหรับการรวบรวมและ วิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งการนำเสนอข้อมูลได้อย่างเหมาะสม

   – สามารถสื่อสารด้วยภาษาต่างประเทศได้อย่างน้อย 1 ภาษา โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ รวมทั้งสามารถสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม

   – มีความรู้และความสามารถในการใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ในการประมวลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการวางแผน การจัดการ และการพัฒนางาน

   – มีความรู้และความสามารถในการวิเคราะห์ปัญหา ออกแบบการวิจัย และดำเนินการวิจัยเพื่อใช้ประโยชน์ในงานและอาชีพ

คุณลักษณะของบัณฑิตที่พึงประสงค์ของหลักสูตร

              หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในยุคดิจิตอลที่ส่งผลต่อการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ บัณฑิตจึงต้องเป็นทั้งผู้ที่มีสมรรถนะหลักด้านความรู้ ความสามารถ ความเป็นเลิศในทางวิชาการ รวมทั้งการมีทัศนคติเชิงบวก พร้อมด้วยจิตวิทยาบริการ และการบริการมูลค่าสูงภายใต้ความเป็นไทย (Thai ness) โดยจุดเด่นของบัณฑิตทางการท่องเที่ยวและการโรงแรมคือ ความเป็นมืออาชีพในการบริหารจัดการ ความสามารถในการพัฒนาต่อยอดธุรกิจ การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการทางการท่องเที่ยว มีทักษะในการปฏิบัติงานจริง สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษได้เป็นอย่างดีควบคู่กับการมีบุคลิกภาพที่ดี และด้วยกระบวนการจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษผ่านการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน (Active Leaning) บัณฑิตสามารถนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยอาทิ Big data และ AI (Artificial Intelligence) มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับความต้องการในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการบริการในตลาดโลก

 

 

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการบริการยุคดิจิทัล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565) สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ เช่น

1. อาชีพด้านการโรงแรม

        – บุคลากรธุรกิจโรงแรม เช่น พนักงานต้อนรับส่วนหน้า นักจัดการประสบการณ์ พนักงานแผนกแม่บ้าน พนักงานฝ่ายขายและการตลาด พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ พนักงานฝ่ายฝึกอบรมและพัฒนา เป็นต้น
       – บุคลากรด้านสปาและเวลเนส เช่น พนักงานต้อนรับและดูแลลูกค้า นักนวดสปาบำบัด (Spa Therapist) เป็นต้น
       – บุคลากรธุรกิจภัตตาคารและบาร์ เช่น พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม พนักงานบริการลูกค้า สจ๊วต  บาร์เทนเดอร์ บาริสต้า เป็นต้น

2. อาชีพด้านการท่องเที่ยว

       – นักวางแผนและพัฒนาการท่องเที่ยว
       – นักวิเคราะห์นโยบายและแผนการท่องเที่ยว
       – นักการตลาดการท่องเที่ยว
       – ผู้นำเที่ยว มัคคุเทศก์ นักจัดการประสบการณ์การเดินทาง นักออกแบบเส้นทาง
       – บุคลากรธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจตัวแทนการเดินทางและออกบัตรโดยสาร
       – บุคลากรธุรกิจตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ (OTA)

  3. อาชีพด้านการบริการ

– บุคลากรธุรกิจสายการบินและท่าอากาศยาน เช่น พนักงานต้อนรับภาคพื้น พนักงานปฏิบัติการภาคพื้น
– เจ้าหน้าที่อำนวยการบิน เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์และดูแลลูกค้า

– นักจัดการประชุม สัมมนา อีเวนต์และนิทรรศการทั้งในสถานที่จริงและระบบออนไลน์

– ลูกเรือบนเรือสำราญ

 

4. ผู้ประกอบการและอาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

– ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยว ที่พัก โรงแรม รีสอร์ท อาหารและเครื่องดื่ม การประชุมและอีเวนต์

– บล็อกเกอร์หรือวีล็อกเกอร์ด้านการท่องเที่ยว
– อาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการการศึกษาด้านการท่องเที่ยว

..เป็นต้น..

ค่าธรรมเนียม

ระบบไตรภาค (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษาปี 1-ปี 3 เทอมละ 20,400 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษาปี 4 เทอมละ 16,400 บาท
ค่าเทอมเหมาจ่ายรวมกิจกรรมภาคสนามและการเรียนรู้ในต่างประเทศ *
      – การศึกษาภาคสนาม (อย่างน้อย 9-10 ทริป)
      – ประสบการณ์ในต่างประเทศอย่างน้อย 1 ทริป
      – อาจารย์พิเศษ วิทยากร ผู้เชี่ยวชาญ

โครงสร้างหลักสูตร

(หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2565)

จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 187 หน่วยกิต

หมวดวิชา

จำนวนหน่วยกิต

ก. หมวดวิชาศึกษาทั่วไป

40 หน่วยกิต

1)      กลุ่มวิชาภาษาไทย

4 หน่วยกิต

2)      กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศ

16 หน่วยกิต

3)      กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

4 หน่วยกิต

4)      กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

4 หน่วยกิต

5)      กลุ่มวิชากีฬาและสุขภาพ

2 หน่วยกิต

6)      กลุ่มวิชาธุรกิจและการประกอบการ

3 หน่วยกิต

7)      กลุ่มวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

7 หน่วยกิต

หมายเหตุ * ไม่นับหน่วยกิตในโครงสร้างหลักสูตร

ข. หมวดวิชาเฉพาะ

139 หน่วยกิต

1)      กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ

30 หน่วยกิต

2)      กลุ่มวิชาบังคับ

54 หน่วยกิต

3)      กลุ่มวิชาเลือก

38 หน่วยกิต

         3.1) กลุ่มวิชาภาษาต่างประเทศเพื่องานอาชีพ

(19 หน่วยกิต)

         3.2)  กลุ่มวิชาความสนใจเฉพาะ

(19 หน่วยกิต)

4)      กลุ่มวิชาสหกิจศึกษา

17 หน่วยกิต

ค. หมวดวิชาเลือกเสรี

8 หน่วยกิต

รวมตลอดหลักสูตร

187 หน่วยกิต

Facebook Comments