สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

หลักสูตรศิลปะการประกอบอาหาร
อย่างมืออาชีพ

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Professional Culinary Arts

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (ศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (ศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ)

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Professional Culinary Arts)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Professional Culinary Arts)

โลโก้หลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

        ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการและทักษะวิชาชีพในอุตสาหกรรมบริการอาหาร ที่มีความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบและ ประกอบอาหารที่มีคุณภาพตามมาตรฐานความปลอดภัยระดับสากล

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร​

1 เพื่อผลิตบัณฑิตด้านศิลปะการประกอบอาหาร ที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงานในอุตสาหกรรมบริการอาหาร โดยเน้นการสอนแบบทฤษฎีสลับกับปฏิบัติการ (Hands-on) และการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้ ร่วมมกับการทำงาน Working Integrated Learning (WIL)

2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีสมรถนะวิชาชีพด้านศิลปะการประกอบอาหาร ตามมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการประกอบอาหารไทย กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงาน

3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่พึงประสงค์ของกำลังคนในอุตสาหกรรมบริการอาหาร รูปแบบใหม่ตามประกาศของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ. 2565

4 เพื่อผลิตบัณฑิตตามเกณฑ์ 4 ด้าน ตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องรายละเอียดผลลัพธธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

จุดเด่นหรือจุดเน้นของหลักสูตรที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ (หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2567) มีจุดเด่นดังนี้

1) หลักสูตรฯ มีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบชุดวิชา (Module) สร้างเสริมความรู้ในหมวดวิชาเฉพาะและฝึกฝนทักษะวิชาชีพที่จำเป็นให้แก่นักศึกษา รวมทั้งบุคคลทั่วไปที่สนใจได้สะสมหน่วยการเรียนรู้หรือธนาคารหน่วยกิต (Credit bank) เพื่อ Up-skills และ Re-skills

2) หลักสูตรฯ มีการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐาน UKPSF ที่เน้นการดูแลผู้เรียนเปน
รายบุคคลโดยใช้วิธีการสอนกลุ่มย่อย และเน้นการฝึกปฏิบัติจริง (
Hands-on) เพื่อให้นักศึกษามีความพร้อมสามารถปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมบริการอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3) หลักสูตรฯ มีการเรียนการสอนแบบบูรณาการการเรียนรู้ร่วมกับการทำงาน Working Integrated Learning (WIL) ในห้องอาหารจำลอง “ครัวโปรเชฟ” ภายในศูนย์ฝึกปฏิบัติการอาหารมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และการสหกิจศึกษากับเครือข่ายสถานประกอบการชั้นนำทั้งในและต่างประเทศ (Cooperative Education) 8 เดือน มีความพร้อมในการมีงานทำ (Employability)หลังจากสำเร็จการศึกษา

4)
นักศึกษาสามารถสอบผ่านมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพระดับชาติ ได้แก่ 1) มาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ สาขาอาชีพการประกอบอาหารไทยระดับ 1 โดยกรมพัฒนาฝืมือแรงงาน สังกัดกระทรวงแรงงาน และ 2) การสุขาภิบาลอาหารสำหรับผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ตามกฎกระทรวงสาธารณสุข สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาศิลปะการประกอบอาหารอย่างมืออาชีพ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ เช่น

1. ผู้ประกอบการธุรกิจบริการอาหารขนาดกลางและขนาดย่อม (Entrepreneur in SMEs Foodservice Business)
          – เจ้าของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม
          – ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหาร/เบเกอรี่/ขนม
          – ผู้ให้บริการด้านการจัดเลี้ยง (
Catering)
          – ผู้ด้านการออกแบบและตกแต่งอาหาร (
Food Stylist)

2. หัวหน้าพ่อครัวประจำแผนก (Chef de partie)

3. รองหัวหน้าพ่อครัวประจำแผนก (Demi-Chef de partie)

4. พ่อครัวประจำแผนก (Commis chef)

5. นักพัฒนาและออกแบบรายการอาหาร

6. อาชีพในอุตสาหกรรมบริการและอุตสาหกรรมบริการอาหาร
          – บุคลากรด้านการจัดการอาหารและเครื่องดื่ม
          – บุคลากรด้านงานจัดเลี้ยงและการจัดงาน
          – บุคลากรด้านการสื่อสาร การประชาสัมพันธ์ และการตลาดธุรกิจบริการอาหาร
          – บุคลากรด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในการฝึกอบรมและการประกอบอาหารตามมาตรฐาน
          – บุคลากรด้านการออกแบบและสร้างสรรค์รายการอาหาร และอาหารร่วมสมัย

7. ที่ปรึกษาด้านอุตสาหกรรมบริการอาหาร

8. อาชีพในหน่วยงานภาครัฐ
          – เจ้าหน้าที่และนักวิชาการด้านอาหาร
          – อาจารย์และนักวิชาการด้านอาหาร ระดับ ปวช. ปวส.
          – นักวิจัย ค้นคว้า และพัฒนาสูตรอาหาร

..เป็นต้น..

ค่าธรรมเนียม

ระบบทวิภาค

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 30,100 บาท     
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 240,800 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

1) ปริญญาตรีทางวิชาการ

หมวดวิชา

หน่วยกิตตาม
เกณฑ์ อว. พ.ศ. 2565

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง
ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

24

26
โดยเลือกภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต
หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

72

93

         1) กลุ่มวิชาแกนธุรกิจ ไม่น้อยกว่า

 

18

         2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า

 

75

              2.1 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านอุตสาหกรรมบริการอาหาร

 

56

              2.2 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมบริการอาหาร

 

6

              2.3 กลุ่มวิชาเฉพาะด้านสหกิจศึกษา

 

13

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

6

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

125

125

หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นโดยเพิ่มหน่วยกิต 2 หน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ที่กำหนดไว้ให้วิชาศึกษาทั่วไป มีจำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

Facebook Comments