สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,
หลักสูตรการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Digital Marketing and Branding

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์)

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Digital Marketing and Branding)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Digital Marketing and Branding)

โลโก้หลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

            มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความพร้อมในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สามารถประยุกต์ใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ในการสร้างหรือต่อยอดธุรกิจ ภายใต้กรอบแนวคิด “เก่งวิชาการ เชี่ยวชาญการปฏิบัติ”

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร​

เพื่อผลิตบัณฑิตนักการตลาดที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทางการตลาดดิจิทัล การสร้างแบรนด์และมีความเป็นผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลสอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและยุทธศาสตร์ชาติในด้านขีดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจบนพื้นฐานผู้ประกอบการยุคใหม่

เพื่อผลิตบัณฑิตนักการตลาด และนักสร้างแบรนด์ที่สามารถใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการสร้างมูลค่าทางการตลาดและพัฒนาธุรกิจบนฐานเศรษฐกิจคุณค่าสูงตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะวิจัยทางด้านการตลาด ตอบสนองนโยบายการพัฒนากำลังคนของประเทศตามพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัยสอดคล้องกับการจัดกลุ่มสถาบันอุดมศึกษาที่เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย

เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณลักษณะสอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ทั้ง 4 ด้านตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษาเรื่อง รายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ. 2565

จุดเด่นหรือจุดเน้นของหลักสูตรที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน

1 หลักสูตรมุ่งเน้นการสร้างนักการตลาดที่มีทักษะดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ พร้อมที่จะเป็นผู้ประกอบธุรกิจดิจิทัลโดยกระบวนการสหกิจศึกษาซึ่งเพิ่มโอกาสการได้งานทำจากการปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ 8 เดือน

2 หลักสูตรผลิตนักการตลาดดิจิทัล และนักสร้างแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยใช้เครื่องมือการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์สมัยใหม่ผ่านโครงการความร่วมมือกับธุรกิจภาคอุตสาหกรรม บริษัทชั้นนำ และมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์ สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ เช่น

1. อาชีพทางด้าน Digital Marketing
          – นักการตลาดออนไลน์ (
Digital Marketing Officer)
         
– เจ้าหน้าที่ฝ่ายโฆษณาออนไลน์ (Advertising Officer)
         
– นักการตลาดเนื้อหา/ SEO (Content Marketing Officer/ SEO Officer)
         
นักวิเคราะห์การตลาดออนไลน์ (Online Market Research Analyst)
         
นักการตลาดโซเชียลมีเดีย (Social Media Marketing Officer)
         
นักบริการลูกค้าออนไลน์ (Online Customer Service Representative)
         
– ตัวแทนขายออนไลน์มืออาชีพ (Professional Online Sales Representative)

2. อาชีพทางด้าน Branding
         
– นักสร้างแบรนด์ (Brand Designer)
         
– ผู้จัดการแบรนด์ (Brand Manager)
         
– นักสร้างสรรค์คอนเทนต์ (Content Creator)
         
– นักสร้างกลยุทธ์และบริหารติดตามแบรนด์ (Brand Strategist)
         
– นักการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ (Marketing and Brand Communications Specialist)
         
– นักสร้างสรรค์แบรนด์ (Brand Creative Officer)

3. อาชีพทางด้านนักพัฒนาธุรกิจ (Business Development)
   ความเป็นผู้ประกอบการและธุรกิจ Startup
           นักพัฒนาธุรกิจ (Business Development Officer)
          – นักให้คำปรึกษาธุรกิจออนไลน์  (Online Business Consultant)
          – นักพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจ (Strategic Planning)
         
นักวิเคราะห์การแข่งขันของธุรกิจ (Competitive Analysis)
         
– นักการขายและการสร้างรายได้ (Sales and Revenue Generation)
         
นักจัดการโครงการ/อีเว้นท์ (Project/Event Manager)
         
นักพัฒนาผลิตภัณฑ์และการตลาดออนไลน์ (Product Online-marketing)
..เป็นต้น..

ค่าธรรมเนียม

ระบบทวิภาค

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 23,100 บาท     
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 184,800 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

1) ปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติ

หมวดวิชา

หน่วยกิตตาม
เกณฑ์ อว. พ.ศ. 2565

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง
ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

24

26
โดยเลือกภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต
หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

72

88

         1) กลุ่มวิชาแกน

 

27

         2) กลุ่มวิชาเฉพาะ

 

48

         3) กลุ่มวิชาพื้นฐานอาชีพและวิชาชีพ

 

13

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

6

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

120

120

หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นโดยเพิ่มหน่วยกิต 2 หน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ที่กำหนดไว้ให้วิชาศึกษาทั่วไป มีจำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

Facebook Comments