สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

หลักสูตรการจัดการการท่องเที่ยว
และการโรงแรม

เล่มหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ชื่อหลักสูตรภาษาไทย : หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม

ชื่อหลักสูตรภาษาอังกฤษ : Bachelor of Business Administration Program in Tourism and Hotel Management

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย : ชื่อเต็ม (ไทย) : บริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม)

ชื่อย่อ (ไทย) : บธ.บ. (การจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม)

ภาษาอังกฤษ : ชื่อเต็ม (อังกฤษ) : Bachelor of Business Administration (Tourism and Hotel Management)

ชื่อย่อ (อังกฤษ) : B.B.A. (Tourism and Hotel Management)

โลโก้หลักสูตร

ปรัชญาของหลักสูตร

        หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม มุ่งผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ทางวิชาการและมีความเชี่ยวชาญการปฏิบัติตามความต้องการของตลาดแรงงาน ภายใต้การสอนในรูปแบบ CWIE (Cooperative and Work Integrated Education)

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรมที่สามารถปฏิบัติงานได้ตามความต้องการของผู้ประกอบการและตลาดแรงงานด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม
โดยเน้นการเรียนรู้เชิงบูรณาการกับการทำงาน (
Work Integrated Learning: WIL) ตลอดหลักสูตร

2. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะที่พึงประสงค์ของกำลังคนในสาขาท่องเที่ยวรูปแบบใหม่
ตามประกาศของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ปี พ.ศ.2565


3. เพื่อผลิตบัณฑิตตามเกณฑ์ 4 ด้านตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่องรายละเอียดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2565

จุดเด่นหรือจุดเน้นของหลักสูตรที่สร้างความสามารถในการแข่งขัน

หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม (หลักสูตรปรับปรุงปีการศึกษา 2567) มีจุดเด่นดังนี้

1. หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล UKPSF ที่เน้นดูแลผู้เรียนเป็นรายบุคคล และในรูปแบบ CWIE (Cooperative and Work Integrated Education) ส่งผลให้นักศึกษามีทักษะการคิด วิเคราะห์ ทักษะการปฏิบัติงาน สามารถทำงานได้ทันทีและสอดคล้องกับความต้องการของตลาดในปัจจุบัน

2. หลักสูตรจัดให้นักศึกษามีทักษะวิชาชีพและได้รับประกาศนียบัตรจากกรมฝีมือแรงงาน ตั้งแต่ชั้นปีที่ 2 ขึ้นไป ในหลักสูตรการฝึกยกระดับฝีมือ สาขาแม่บ้านมืออาชีพ สาขาพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม และตามมาตรฐานสมรรถนะวิชาชีพด้านการโรงแรมแผนกพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ซึ่งส่งเสริมให้นักศึกษามีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีทักษะด้านการบริการในด้านการดำเนินงานในโรงแรม

3. หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบชุดวิชา Modular System ในหมวดวิชาเฉพาะและมีการจัดชุดวิชาการดำเนินงานและการจัดการงานบริการโรงแรม (Hotel Service Operations and Management) เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เพิ่มและพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะด้านการบริการในงานโรงแรม

4. หลักสูตรมีเครือข่ายผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและโรงแรม ในการให้ความร่วมมือในการจัดการเรียนการสอน และการรับนักศึกษาเมื่อสำเร็จการศึกษาได้โดยตรง

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและการโรงแรม สามารถประกอบอาชีพได้ทั้งในหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ในงานด้านต่างๆ เช่น

1. อาชีพด้านการโรงแรม
          – พนักงานแผนกบริการและการต้อนรับส่วนหน้า
          พนักงานแผนกแม่บ้าน
          พนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่ม
          บาร์เทนเดอร์บาริสต้า
          พนักงานฝ่ายขายและการตลาด
         
พนักงานฝ่ายทรัพยากรมนุษย์อบรมและพัฒนา
          –
พนักงานด้านสปาและเวลเนส
         
นักจัดการประสบการณ์ลูกค้า/กิจกรรมนันทนาการ

2. อาชีพด้านการท่องเที่ยว
          – ผู้นำเที่ยว มัคคุเทศก์
          – นักสื่อความหมายทางการท่องเที่ยว
         
นักจัดการประสบการณ์การเดินทางท่องเที่ยว/พนักงานในบริษัทธุรกิจนำเที่ยว (Tour Operator Business) บริษัทธุรกิจตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว (Travel Agency Business)
          ผู้บังคับบัญชาชั้นต้นในบริษัท ธุรกิจนำเที่ยว (Tour Operator Business) บริษัทธุรกิจตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยว (Travel Agency Business) บริษัทธุรกิจตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Travel Agency Business)
          ตัวแทนการเดินทางและออกบัตรโดยสาร
          ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์ในบริษัทธุรกิจตัวแทนจำหน่ายการท่องเที่ยวออนไลน์ (Online Travel Agency Business)
         
นักการตลาดการท่องเที่ยว
          นักพัฒนาการท่องเที่ยว

3. ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม

..เป็นต้น..

ค่าธรรมเนียม

ระบบทวิภาค

ค่าธรรมเนียมการศึกษาต่อภาคการศึกษา 26,100 บาท     
ค่าธรรมเนียมการศึกษาตลอดหลักสูตร 208,800 บาท

โครงสร้างหลักสูตร

1) ปริญญาตรีทางวิชาการ

หมวดวิชา

หน่วยกิตตาม
เกณฑ์ อว. พ.ศ. 2565

หน่วยกิตของหลักสูตรปรับปรุง
ปีการศึกษา 2567

ก) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า

24

26
โดยเลือกภาษาอังกฤษ 9 หน่วยกิต
หรือภาษาจีน 9 หน่วยกิต

ข) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า

72

93

         1) กลุ่มวิชาแกน

 

18

         2) กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน

 

75

ค) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า

6

6

หน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า

125

125

หมายเหตุ : มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้นโดยเพิ่มหน่วยกิต 2 หน่วยกิตในหมวดวิชาศึกษาทั่วไป จากเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ที่กำหนดไว้ให้วิชาศึกษาทั่วไป มีจำนวนหน่วยกิตรวม ไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต

Facebook Comments