สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

 

กิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยของบุคลากรในสำนักวิชาการจัดการ

 

สถานวิจัย สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ รักษาการหัวหน้าสถานวิจัย ได้จัดกิจกรรมสนับสนุนการพัฒนาการวิจัยของบุคลากรในสำนักวิชาการจัดการ ในระหว่างวันที่ 22-23 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 โดยมีการเชิญคณาจารย์และนักวิจัยจากหลายสำนักวิชาเพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโจทย์วิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ที่มุ่งสู่การใช้ประโยชน์งานวิจัยทั้งในมิติเชิงพาณิชย์และการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่น โดยมีการบูรณาการกัน 5 สำนักวิชา ได้แก่ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์ สำนักวิชาการจัดการ และสำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ

โดยสำนักวิชาการจัดการ ได้รับเกียรติจากคุณสุนันทา สมพงษ์ ที่ปรึกษาสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ และคุณกนกวรรณ ขันนบ เป็นวิทยากรพัฒนาโจทย์วิจัย และแนวทางการพัฒนางานวิจัยที่นำไปสู่การใช้ประโยชน์ รวมถึงการให้คำแนะนำการพัฒนางานวิจัยที่ดี ในโอกาสนี้ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์มาให้กำลังใจนักวิจัยจากทั้ง 5 สำนักวิชา และได้ให้นโยบายในการสนับสนุนและขับเคลื่อนการพัฒนาโครงการวิจัยของมหาวิทยาลัย ทำให้นักวิจัยที่มาร่วมกิจกรรมในวันนี้ได้ทั้งแนวทางการพัฒนาข้อเสนอโครงการวิจัย และพลังใจในการทำงานที่จะนำไปสู่การพัฒนางานวิจัยที่เป็นหลักในถิ่นดังพันธกิจของมหาวิทยาลัย

อนึ่ง การดำเนินการขับเคลื่อนงานวิจัยของสำนักวิชาการจัดการที่ให้ความสำคัญทั้งงานวิจัยที่มีการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ รวมถึงการพัฒนางานวิจัยที่เป็นประโยชน์ในการขับเคลื่อนท้องถิ่น หรือภาคธุรกิจ ซึ่งในปัจจุบันมีงานวิจัยที่นำไปสู่การขับเคลื่อนการใช้ประโยชน์หลายงาน อาทิ การสร้างเครือข่ายการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่ การพัฒนาการท่องเที่ยวกลุ่มพำนักระยะยาว กลุ่มนักเดินทางดิจิทัลและกลุ่มนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นต้น โดยมีเป้าหมายที่สำคัญคือ การใช้ประโยชน์จากศักยภาพ องค์ความรู้และความเชี่ยวชาญของคณาจารย์ในสำนักวิชาการจัดการในการดำเนินการวิจัย และโอกาสในการนำนักศึกษาเข้าไปเรียนรู้จากโจทย์ในสถานการณ์จริง

 

สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

 

Facebook Comments