สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์

รักษาการแทนคณบดีสำนักวิชาการจัดการ

วุฒิการศึกษา

 

ตำแหน่ง

 

Tel.

Email

 

Ph.D. (Management Studies), University of Exeter, UK
บธ.ม. (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยแม่โจ้
บธ.ม. (การตลาด) เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยแม่โจ้

รักษาการคณบดีสำนักวิชาการจัดการ
รักษาการหัวหน้าสาขาการตลาดดิจิทัล
รองศาสตราจารย์สาขาการตลาด

(66)75 672255, (66)75 67229

E – mail: psiwarit@wu.ac.th

About me:

         รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งรักษาการคณบดีสำนักวิชาการจัดการ และรักษาการหัวหน้าสาขาการตลาดดิจิทัล ก่อนหน้ามารับตำแหน่งรักษาการคณบดี รศ.ดร.ศิวฤทธิ์เป็นผู้ก่อตั้งและเป็นผู้อำนวยการศูนย์บริหารทรัพย์สินคนแรก โดยรับผิดชอบด้านการพัฒนาพื้นที่ธุรกิจ หอพักนักศึกษา พื้นที่ร่วมทุนและพื้นที่บริการต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัย โดยรศ.ดร.ศิวฤทธิ์มีประสบการณ์สอนมามากกว่า 20 ปี โดยเริ่มต้นเป็นอาจารย์ที่สำนักวิชาการจัดการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ก่อนลาไปศึกษาต่อที่ University of Exeter ประเทศสหราชอาณาจักร และจบการศึกษามาในปี พ.ศ. 2553 โดยในปี พ.ศ. 2554 ได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายพัฒนาและสื่อสารองค์กร
          ในด้านการวิจัย รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ มีผลงานตีพิมพ์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2543 ในระดับชาติและระดับนานาชาติไม่ต่ำกว่า 46 บทความ ได้รับทุนวิจัยภายนอกจากแหล่งทุนต่าง ๆ ไม่ต่ำกว่า 38 โครงการ ที่รับผิดชอบในการพัฒนางานวิจัยทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยที่ได้นำองค์ความรู้ทางด้านการตลาด การสร้างแบรนด์ การจัดการการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการสมัยใหม่ไปประยุกต์ใช้เพื่อขับเคลื่อนการสร้างงานวิจัยใช้ประโยชน์ โดยได้รับรางวัลนักวิจัยเด่นของสำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ถึงสองปีซ้อนในปี พ.ศ. 2557 และ 2558 รวมถึงการทำงานวิจัยกับภาคเอกชนในการพัฒนาธุรกิจและผลิตภัณฑ์ที่เป็นการสร้างมูลค่าทางธุรกิจ
          ในด้านการเรียนการสอน รศ.ดร.ศิวฤทธิ์ ได้รับการรับรองมาตรฐานการสอนแบบมืออาชีพจากประเทศสหราชอาณาจักร หรือ UKPSF ในระดับ Senior Fellow ปัจจุบัน รศ.ดร.ศิวฤทธิ์รับผิดชอบสอนในระดับปริญญาตรี และบัณฑิตศึกษา รวมถึงเป็นอาจารย์พิเศษในหลายมหาวิทยาลัย อาทิ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

ความสนใจ/ความเชี่ยวชาญ

การบริโภค การสร้างแบรนด์ การสร้างคุณค่าร่วมกัน วัฒนธรรมแบรนด์ การสร้างประสบการณ์ของลูกค้า วัฒนธรรมของผู้บริโภค ชุมชนแบรนด์

ผลงานวิจัยตีพิมพ์
  • Kim, L., Jindabot, T., Pongsakornrungsilp, S., and Ngachonphan, H. (2023). How to Enhance Perceived E-Learning Usefulness: Evidence from Thai University Students. ABAC Journal. 43(1), 18 – 33.
  • Sornsuwit, P., Jundahuadong, P. and Pongsakornrungsilp, S. (2023). A new efficiency improvement of ensemble learning for heart failure classification by Least Error Boosting. Emerging Science Journal. 7(1), 135 – 146.
  • Kim, L., Pongsakornrungsilp, P., Pongsakornrungsilp, S., Cattapan, T. and Nantavisit, N. (2022). Determinants of perceived e-learning usefulness in higher education: A case of Thailand. Innovative Marketing. 18(4), 86 – 96.
  • Pongsakornrungsilp, P., Pongsakornrungsilp, S., Jansom, A. and Chinchanachokchai, S. (2022). Rethinking Sustainable Tourism Management: Learning from the COVID-19 Pandemic to Co-Create Future of Krabi Tourism, Thailand. Sustainability. 14(18), 11375. https://doi.org/10.3390/su141811375.
  • Cuttapan, T. and Pongsakornrungsilp, S. (2022). Impact of omnichannel integration on Millennials’ purchase intention for fashion retailer. Cogent Business and Management. 9(1), 2087460. https://doi.org/10.1080/23311975.2022.2087460.
  • Jamwal, A., Agrawal, R., Sharma, M., Kumar, A., Luthra, S. and Pongsakornrungsilp, S. (2022). Two decades of research trends and transformations in manufacturing sustainability: a systematic literature review and future research agenda. Production Engineering. https://doi.org/10.1007/s11740-021-01081-z.
  • Jirojkul, S., Pongsakornrungsilp, S., Pianroj, P., Chaiyakot, P., Buakhwan, N., Mia, S., and Techato, K. (2021). Responsibility and Mindset of Tourist and Community-Based Tourism Enterprise to Conserve the Environment and Energy. TEM Journal, 10(4), 1838 – 1848.
  • Jirojkul, S., Pongsakornrungsilp, S., Pianroj, P., Chaiyakot, P., Mia, S., Masst, T., Techato, K. (2021). The Effect of Mindset on Tourist Behaviour and Mindful Consumption in a Community
  • Enterprise in Krabi, Thailand. TEM Journal, 10(3), 1082 – 1091.
  • Pongsakornrungsilp S, Pongsakornrungsilp P, Pusaksrikit T, Wichasin P, and Kumar V. (2021). Co-Creating a Sustainable Regional Brand from Multiple Sub-Brands: The Andaman Tourism Cluster of Thailand. Sustainability, 13(16), 9409. https://doi.org/10.3390/su13169409.
  • Jansom, A. and Pongsakonrrungsilp, S. (2021). How Instagram Influencers Affect the Value Perception of Thai Millennial Followers and Purchasing Intention of Luxury Fashion for Sustainable Marketing. Sustainability, 13(15), 8572. https://doi.org/10.3390/su13158572.
  • Pongsakonrrungsilp, S., Pongsakonrrungsilp, P., Kumar, V. and Maswongssa, B. (2021). The Art of Survival: Tourism Businesses in Thailand Recovering from COVID-19 through Brand Management. Sustainability, 13(12), 6690. https://doi.org/10.3390/su13126690.
  • Damla, İ., Ekren, B.Y., Kumar, V. and Pongsakornrungsilp, S. (2021). Omni-Chanel Network Design Towards Circular Economy Under Inventory Share Policies. Sustainability, 13(5), 1 – 21. https://doi.org/10.3390/su13052875.
  • ลลิดา นวกิจไพฑูรย์ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2564). การวิเคราะห์องค์ประกอบรูปแบบการดำเนินชีวิตของนักท่องเที่ยวกลุ่ม Millennials ในประเทศไทย. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 17(2), 18 – 43.
  • Pongsakonrrungsilp, P. and Pongsakonrrungsilp, S. (2021). Mindful tourism: nothing left behind–creating a circular economy society for the tourism industry of Krabi, Thailand. Journal of Tourism Futures, 1 – 15. http://doi.org/10.1108/JTF-01-2021-0001.
  • Pongsakonrrungsilp, S., Pusaksrikit, T. and Pongsakonrrungsilp, P. (2021). Developing a green brand through co-creation process of Krabi, Thailand, International Journal of Innovation, Creativity and Change. 15(2), 135-158.
  • พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และปิยะ ปานผู้มีทรัพย์. (2562). ปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์มของธุรกิจโรงแรมในจังหวัดกระบี่. วารสารวิชาการการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ. 15 (1), 167 – 186.
  • Sriharan, P., Pongsakonrrungsilp, S. and Pongsakonrrungsilp, P. (2019). Consumer Culture, Food Choices and Cultural Tourism Development: A Study from Thailand. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 7(5), 345-361.
  • Liakos, N., Kumar, V., Pongsakonrrungsilp, S., Garza-Reyes, J., Gupta, B., and Pongsakornrungsilp, P. (2019). Understanding Circular Economy Awareness and Practices in Manufacturing Firms, Journal of Enterprise Information Management. 32(4), 563 – 584.
  • ปิยะวัน เพชรหมี สุจินดา เจียมศรีพงษ์ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์. (2562). ปัจจัยความสำเร็จของธุรกิจผ้าทอพื้นเมืองของธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลางในภาคเหนือของประเทศไทย. 14(3), 146 – 164.
  • Pusaksrikit, T., Pongsakornrungsilp, S., Chinchanachokchai, S. and Crosby, E.. (2018). The Superstitious Journey of Thai Lottery Gamblers. Journal of Marketing Management. 34 (13/14), 1126 – 1148.
  • พันทิพา ปัญสุวรรณ สุจินดา เจียมศรีพงษ์ ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และเกตุจันทร์ จำปาไชยศรี. (2561). พฤติกรรมการสร้างคุณค่าร่วมกันของลูกค้า และความผูกพันในตราสินค้าที่มีอิทธิพลต่อความจงรักภักดีในตราสินค้าของธุรกิจให้บริการออกแบบตกแต่งเฟอร์นิเจอร์. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร. 13(2), 136 – 154.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2561). พฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยวชาวไทยในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด กรณีศึกษา เกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 11 (2), 2843 – 2857.
  • Siwarit Pongsakornrungsilp and Jonathan Schroeder. (2017). Consumers and Brands: How Consumers Co-Create Value In Routledge Handbooks of Consumption, Keller, M., Halkier, B., and Wilska, T.A. (eds.). pp.89 – 101. Book Chapter. New York: Routledge
  • Sydney Chinchanachokchai, Theeranuch Pusaksrikit, and Siwarit Pongsakornrungsilp. (2017) Exploring Different Types of Superstitious Beliefs in Risk-Taking Behaviors: What We Can Learn From Thai Consumers. Social Marketing Quarterly. 23(1), 47 – 63.
  • พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2559) พฤติกรรมการรับประทานอาหารนอกบ้านของ ผู้บริโภคชาวนครศรีธรรมราช. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 22 (2) พฤษภาคม – สิงหาคม พ.ศ. 2559, 85 – 114.
  • พัชฐญา แซ่โง้ว ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และพิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ (2559) การวิเคราะห์องค์ประกอบของรูปแบบการดำรงชีวิตของผู้บริโภค Generation Y ในภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยด้วยโมเดล AIO. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี. 3(2) กรกฎาคม – ธันวาคม พ.ศ. 2559 , 43-69.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และสุชาติ ฉันสำราญ (2558) ศักยภาพทางการตลาดของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในภาคใต้ในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 8 (2), 556 – 570.
  • มัลลิกา คงแก้ว ประกอบ ใจมั่น และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2558) กลยุทธ์เศรษฐกิจสร้างสรรค์งานฝีมือและหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน วารสารราชพฤกษ์ 13(2), 41-50.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2557) กระบวนการสร้างคุณค่าร่วมกัน: กระบวนทัศน์การตลาดใหม่ในยุคสังคมออนไลน์ วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 20 (3), 161 – 185.
  • ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ และศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2557) บทบาทความเชื่อด้านโชคลางต่อพฤติกรรมการซื้อสลากกินแบ่งรัฐบาลและหวยใต้ดินของผู้บริโภคชาวไทย วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 7(2), 1348-1361.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และสุรัตน์ ฐานะกาญจน์ (2556) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อปุ๋ยเคมีของผู้บริโภคในประเทศเวียดนาม วารสารวิชาการ Veridian E-Journal กลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(3), 305-320.
  • Pusaksrikit, Theeranuch, Siwarit Pongsakornrungsilp, and Pimlapas Pongsakornrungsilp (2013), “The Development of the Mindful Consumption Process through the Sufficiency Economy,” in Botti, S. and Labroo, A. (eds.), Advances in Consumer Research, Volume 41, pp.332 – 336. Duluth, MN: Association for Consumer Research.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และ ธีรนุช พูศักดิ์ศรีกิจ (2555) ความเชื่อและพฤติกรรมการบริโภคเครื่องรางของขลังและวัตถุมงคลของชาวไทย วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 18 (3), 57 – 93
  • Pongsakornrungsilp, Siwarit and Theeranuch Pusaksrikit (2011), “Consuming Buddhism: the Pursuit of Happiness,” in Ahluwalia, R., Chartrand, T.L., and Ratner, R.K. (eds.), Advances in Consumer Research, Volume 39, pp.374 – 378, Duluth, MN: Association for Consumer Research.
  • Pongsakornrungsilp, Siwarit, and Jonathan Schroeder (2011), “Understanding value co-creation in a co-consuming brand community,” Marketing Theory, 11 (3), 303 – 24.
  • Pongsakornrungsilp, Siwarit, Theeranuch Pusaksrikit, and Jonathan Schroeder (2011) “Co-creation through Fear, Faith, and Desire,” In A. Bradshaw, C. Hackley, and P. Maclaren (eds.),  European Advances for Consumer Research, Volume 9, pp.333 – 340, Duluth, MN: Association for Consumer Research.
  • Pongsakornrungsilp, Siwarit, Jason C. Healy, Alan Bradshaw, Pierre McDonagh, and Jonathan E. Schroeder (2008), “Left Behind: Local Fans of Global Brands,” In William E. Kilbourne and John D. Mittelstaedt (eds.) 33rd Annual Macromarketing Society Conference 2008, Macromarketing: Systems, Causes, and Consequences,  South Carolina, pp. 225 – 37.
  • Pongsakornrungsilp, Siwarit, Alan Bradshaw, and Jonathan E. Schroeder (2008), “Brand Community as Co-Creation Value in the Service-Dominant Logic of Marketing,” Available at SSRN.  http://ssrn.com/abstract=1103970.
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2551) ปัจจัยที่มีความสำคัญกับการตัดสินใจซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคในจังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 14(2) 307 – 20
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ และชฎามาศ แก้วสุกใส (2550) ความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซียและสิงคโปร์ต่อการท่องเที่ยวในจังหวัดสงขลา วารสารสงขลานครินทร์ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 13(1) 19 – 31
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ และ พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ (2548) e-Tourism: ช่องทางการตลาดใหม่ของธุรกิจท่องเที่ยว. วารสารวิชาการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์. สำนักประสานงานชุดโครงการ การพัฒนาและการจัดการการท่องเที่ยวเชิงพื้นที่อย่างยั่งยืน. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ( สกว .) http://www.ttresearch.org
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2547) แนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชนอย่างยั่งยืน วารสารการวิจัยและการพัฒนา คณะธุรกิจการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 2(1) ก.ค. – ธ.ค. 2547: 33 – 48
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ ญาลดา พรประเสริฐ และสุชาติ ฉันสำราญ (2547) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประสมทางการตลาดสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 10(2) 175 – 188
  • ศิวฤทธิ์  พงศกรรังศิลป์  ปิยะ ปานผู้มีทรัพย์  สงวน จุงสกุล และสุชาติ  ฉันสำราญ (2546) กลยุทธ์การสร้างความพึงพอใจของลูกค้า กรณีศึกษา บริษัท เดมเลอร์ไคสเลอร์ ประเทศไทย จำกัด. สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ
  • ศิวฤทธิ์   พงศกรรังศิลป์ และ สุชาติ  ฉันสำราญ (2546) การรับรู้เกี่ยวกับพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของธุรกิจการท่องเที่ยวในภาคใต้ วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 9(1) 33-49
  • ศิวฤทธิ์   พงศกรรังศิลป์และจิตศักดิ์  พุฒจร (2545) กลยุทธ์และกระบวนการทางการตลาดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ”.จุฬาลงกรณ์วารสาร ก.ค. – ก.ย.: 83-95
  • ศิวฤทธิ์   พงศกรรังศิลป์ (2545) กลยุทธ์การตลาดสินค้าชุมชนกลุ่มบ้านสมุนไพรคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ 8(1) 47-58
  • ศิวฤทธิ์   พงศกรรังศิลป์ (2544) ธุรกิจชุมชน: ศักยภาพของภูมิปัญญาท้องถิ่น จุฬาลงกรณ์วารสาร เม.ย. – มิ.ย.: 56-62
หนังสือ/ตำรา
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2564) หลักการตลาด พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ท้อป จำกัด
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2555) หลักการตลาด พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ท้อป จำกัด
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2548) การโฆษณาและส่งเสริมการตลาด: มุมมองของการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการ (แปลจาก George E. Belch and Michael A. Belch by the Right of McGraw-Hill) กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ท้อป จำกัด
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2547) หลักการตลาด กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ ท้อป จำกัด
  • ศิวฤทธิ์ พงศกรรังศิลป์ (2547) สถิติธุรกิจ กรุงเทพฯ: เพียร์สัน อินโดไชน่า จำกัด (ประเทศไทย)

โครงการวิจัย
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการประเมินข้อมูลเศรษฐกิจชุมชนเครือข่าย สพภ. ประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงทำการศึกษาข้อมูลความสุขชุมชนเครือข่าย สพภ. (Gross Community Happiness: GCH) ประจำปีงบประมาณ 2566 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนในเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการการพัฒนาเครือข่ายการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์จังหวัดกระบี่และพื้นที่เชื่อมโยง หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการกำกับติดตามชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สพภ. ปีพ.ศ. 2565 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการประเมินเศรษฐกิจชุมชนประจำปีงบประมาณ 2565 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการกำกับติดตามชุมชนที่ได้รับการสนับสนุนจาก สพภ. สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการการตลาดดิจิทัลและการสร้างแบรนด์เมืองท่องเที่ยวคุณค่าสูงจังหวัดกระบี่ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการประเมินข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน ประจำปีงบประมาณ 2563 สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการประเมินข้อมูลเศรษฐกิจชุมชน 3 กลุ่ม สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานทรัพยากรชีวภาพ (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย โครงการ Innovation Hubs เพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบาย 4.0 กลุ่มเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • หัวหน้าโครงการวิจัย แนวทางการพัฒนาอัตลักษณ์แบรนด์สปาศรีวิชัย อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย รูปแบบการท่องเที่ยวเมืองรองที่มีความสมดุล ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณการเกษตร
  • ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย การบริหารจัดการและการจัดตั้ง Virtual Tourism Academy เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการของประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การจัดตั้ง Virtual Tourism Academy เพื่อการพัฒนาทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวคุณค่าสูงในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย การพัฒนาและบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่ชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้านสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันด้านทุนมนุษย์ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการของประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย แนวทางการสร้างแบรนด์แหล่งท่องเที่ยวภาคใต้อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การสร้างแบรนด์การท่องเที่ยวเขตพัฒนาการท่องเที่ยวอันดามัน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย แนวทางการพัฒนาและบริหารจัดการอำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่สู่การเป็นสปาทาวน์ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมโครงการ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อมสู่การเป็น High Value Service โครงการ Innovative Hubs เพื่อสร้างฐานเศรษฐกิจฐานนวัตกรรมของประเทศตามนโยบาบ Thailand 4.0 กลุ่มเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษาศักยภาพด้านการตลาดและด้านอื่นๆ สำหรับงานวิจัยเชิงพาณิชย์สำหรับผลิตภัณฑ์แปรรูปจากน้ำอ้อย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาผลิตภัณฑ์แกงไตปลาสำหรับตลาดฮาลาล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การสร้างตราสินค้าทางการท่องเที่ยวเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานีอย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาภาพลักษณ์ของอาหารท้องถิ่นสู่การเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของจังหวัดภูเก็ต สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย การพัฒนาการท่องเที่ยวสีเขียวจังหวัดกระบี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย แนวทางการพัฒนาตราสินค้าการท่องเที่ยวสีเขียวของจังหวัดกระบี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย การศึกษาศักยภาพของธุรกิจการจัดประชุมในประเทศไทย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย แผนธุรกิจน้ำตาลทรายเคลือบคาราเมล สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้อำนวยการแผนงานวิจัย แนวทางการพัฒนาพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อย่างยั่งยืน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย การศึกษาปัจจัยสู่ความสำเร็จของการประยุกต์ใช้ดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Platform) ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว กรณีศึกษาจังหวัดกระบี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ในการลงทุนยางพาราไร้สีไร้กลิ่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ผู้ร่วมวิจัย Estimation of Biomass Availability in Southern Thailand, the CarbonBW (Thailand) Co., Ltd
  • หัวหน้าโครงการวิจัย ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตลาดและพฤติกรรมนักท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การศึกษาความเป็นไปได้ในการจำหน่ายคาร์บอนเครดิตจากสวนยางพาราในพื้นที่ปลูกใหม่ในรูปแบบการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย ศักยภาพทางการตลาดของผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยวต่อการสร้างรายได้ในพื้นที่ภาคใต้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • หัวหน้าโครงการวิจัย การพัฒนาตัวชี้วัดเศรษฐกิจพอเพียงด้วยทฤษฎีด้านทุนเพื่อความยั่งยืนและเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
  • หัวหน้าโครงการวิจัย พฤติกรรมและความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมของนักท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลและชายหาด กรณีศึกษาเกาะสมุยจังหวัดสุราษฎร์ธานี ทุนงบประมาณแผ่นดิน
  • ผู้ร่วมวิจัย การวิเคราะห์การลงทุนเบื้องต้นในธุรกิจกระหรี่ปั๊บนมสด สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
  • ทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทาง Jonathan Young Scholarship, the University of Exeter (£ 500)
  • ทุนวิจัยร่วมระหว่าง The Center of Consumption Studies (CCS), DCU Business School, Dublin City University, Ireland and the University of Exeter Business School (£ 1,000)
  • ทุนพัฒนาอาจารย์สาขาขาดแคลน สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ

รางวัลที่ได้รับ

1.Shortlisted UK Alumni Awards for 2021-2022 in Science and Sustainability, British Council.
2.รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2564 ด้านความสำเร็จในหน้าที่/อาชีพการงาน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ในโอกาสครบรอบ 45 ปี คณะบริหารธุรกิจ
3.รางวัล Best Paper บทความเรื่อง การสร้างอัตลักษณ์ทางการท่องเที่ยวของพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่ งานประชุมวิชาการระดับชาติด้านบริหารธุรกิจ ครั้งที่ 8 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
4.รางวัลนักวิจัยดีเด่น ประจำปี พ.ศ.2563 ประเภทที่ 1 High quality publication (Q1) จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในฐานข้อมูลนานาชาติ Q1 ระดับ Senior researcher มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
5.รางวัล Best Paper Award: Influences of Customer Value Co-Creation Behavior on Customer Brand Engagement of Furniture and Home Decoration Business in Thailand, the 7th Aalborg International Business Conference, Aalborg University, Denmark, 30 May – 1 June 2018
6.รางวัล Best Presentation Award: Co-Creating the Tourism Identity of Gastronomic Creative City: The Case of Phuket, The 5th International Conference of Innovation, Valencia (Spain), 25 – 27 October 2017
7.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจากแผนงานวิจัย แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวพุน้ำร้อนเค็มคลองท่อม จังหวัดกระบี่อย่างยั่งยืน พ.ศ. 2558
8.รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น โรงเรียนวัดบวรนิเวศ ในวาระครบรอบปีที่ 80 สมาคมศิษย์เก่าโรงเรียนวัดบวรนิเวศ
9.รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัยจากแผนงานวิจัย การพัฒนาธุรกิจท่องเที่ยวเพื่อรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จังหวัดกระบี่ พ.ศ. 2557
10.รางวัล Bronze Award ในงาน Research Expo 2014 จัดโดยสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.)
11.รางวัลการบริการวิชาการดีเด่น ปี พ.ศ. 2557 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จากผลงานท้อฟฟี่ส้มโอแสงวิมาณ
12.รางวัลโปสเตอร์ยอดเยี่ยม การประชุมวิชาการวลัยลักษณ์วิจัย ครั้งที่ 3 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พ.ศ. 2556
13.รางวัลการบริการวิชาการดีเด่น ปี พ.ศ. 2556 มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์จากผลงานเยลลี่ส้มโอแสงวิมาน

Facebook Comments