สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

สำนักวิชาการจัดการจัดงาน WIL National Conference #2 และ SAMUI MODEL SHARING DAY

ดร. สุภัทร จำปาทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา (สกอ) ให้เกียรติมาแสดงปาฐกถาพิเศษเรื่อง Policy & Implementation of Work Integrated Learning for Employability & Engagement และรองศาสตราจารย์ ดร.สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์ บรรยายพิเศษเรื่อง “Innovative Education Management for Work Integrated Learning School” ในการประชุมวิชาการระดับชาติด้าน การจัดการเรียนการสอนเชิงบูรณาการกับการทำงาน ครั้งที่ 2 (The 2nd Work Integrated Learning Conference: “Employability & Engagement”) เนื่องในโอกาสการสถาปณามหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ปีที่ 26 ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2561 ณ อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีและพัฒนานวัตกรรม มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จังหวัดนครศรีธรรมราช และ อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฏร์ธานี
อาจารย์ ดร.รุ่งรวี จิตภักดี รองคณบดีสำนักวิชาการจัดการ ในฐานะหัวหน้าโครงการพัฒนาเครือข่ายผู้ประกอบการและมหาวิทยาลัยภาคใต้เพื่อรองรับระบบการเรียนการสอนแบบ Work-Integrated Learning (WIL) กล่าวรายงานถึงความสำเร็จในการจัดงานครั้งนี้ต่อศาสตราจารย์ ดร. ธวัชชัย ศุภดิษฐ์ ประธานเปิดการวิชาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ โดยมีผู้สนใจลงทะเบียนเข้าร่วมฟังการนำเสนอบทความวิจัยและบทความวิชาการจำนวน 36 บทความ ซึ่งเป็นตัวแทนจาก 29 สถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาคเอกชนทั้งสิ้นกว่า 160 คน รวมทั้งมีผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิชาการลงทะเบียนร่วมเดินทางไปศึกษาดูงานสมุยโมเดล (SAMUI MODEL) จำนวน 60 คน โดยมีเครือข่ายผู้ประกอบการ และตัวแทนนักศึกษาเข้าร่วมรวมทั้งสิ้นประมาณ 90 คน
สำหรับกิจกรรมศึกษาดูงานที่เกาะสมุย ภายใต้แนวคิด SAMUI MODEL SHARING DAY นำโดยอาจารย์สุนทร บุญแก้ว หัวหน้าโครงการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน (Work-Based Learning: WBL) ร่วมกับตัวแทนผู้บริหารในเครือข่ายโครงการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน คณาจารย์ที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการ และตัวแทนนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ได้จัดกิจกรรมเสวนาในหัวข้อ “SAMUI MODEL: Innovative & Sustainable Engagement for Employability & Marketability” และต่อด้วยกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (KM) “SAMUI MODEL – Authentic Learning Environment & Experience” ภายใต้แนวคิด Industrial Practical Learning หรือ โรงเรียนในโรงแรม” ในภาคเช้าที่โรงแรมโนราบุรีรีสอร์ทแอนด์สปา และในภาคบ่ายได้แบ่งคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และนักวิชาการออกเป็น 4 กลุ่มเพื่อเดินทางไปเรียนรู้ Best Practices ของสถานประกอบการภายใต้โครงการเรียนรู้โดยใช้การทำงานเป็นฐาน และ Area-Based Cooperative Education ที่ร่วมกับสาขาวิชาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการ สำนักวิชาการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย 1) โรงแรม Nora Buri Resort & Spa และ Nora Beach Resort & spa ซึ่งเป็นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญในแผนก Housekeeping และแผนก Food & Beverage โดยมี อ.ดร. เยี่ยมดาว ณรงคะชวนะ เป็นผู้นำคณะ 2) โรงแรม Conrad Koh Samui ซึ่งมีความโดดเด่นด้านการจัดการและสร้างโอกาสในการเรียนรู้ให้นักศึกษาในแผนก Training และ Housekeeping โดยมี อ.สุนทร บุญแก้ว เป็นผู้นำคณะ 3) โรงแรม Six Senses Samui ซึ่งมี Farm on the Hill เป็นแบบอย่างที่ดีด้าน Environmental-friendly and Tourism Resources Management โดยมี ผศ.ดร.อรอนงค์ เฉียบแหลม เป็นผู้นำคณะ และ 4) โรงแรม W-Retreat Koh Samui ที่มีแบบอย่างในการจัดการด้านสหกิจศึกษา (Cooperative Education) โดยมี อ.ปวิธ ตันสกุล เป็นผู้นำคณะดูงาน
อนึ่ง ในการจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติในครั้งนี้ บทความเรื่อง “กลยุทธ์ขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงานสำหรับสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย” โดยมีอาจารย์ ดร.อลงกต ยะไวทย์ มหาวิทยาลัยวงชวลิตกุลเป็นหัวหน้าคณะวิจัยได้รับรางวัล Best Paper และให้เกียรติสรุปเพื่อบทเรียนจากการเดินทางไปศึกษาเรียนรู้ SAMUI MODEL ไว้น่าสนใจดังนี้
“Best Practices ของ Samui Model จากมุมองคนภายนอก คือ 1). มีการออกแบบหลักสูตรที่รองรับการผลิตบัณฑิตในกลุ่มอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวหรือ Learning Outcome ที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน 2). มี Connection ที่เข้มแข็ง ในเครือข่ายเชิงพื้นที่ 3). เน้นการจัดการเชิงพื้นที่หรือ Area-based 4). ใช้ Site Director เข้าประสานงานในพื้นที่ และกำกับดูแลนักศึกษา 5). การเรียนควบคู่กับการทำงานในสภาพจริงในรายวิชาที่เน้นการทำงาน หรือ Work Based Learning (WBL) 6). วิสัยทัศน์ที่ชัดเจนและเป็นจริงจากผู้บริหารระดับคณบดี 7). ความเข้มแข็งของคณาจารย์และมีส่วนร่วมแบบเป็นทีม ด้วยความเสียสละและทุ่มเทอย่างมาก 8). การ Reflection ของนักศึกษา อาจารย์ ครูคนที่สองใน สถานประกอบการอย่างต่อเนื่อง 9). ทุกฝ่ายใช้ “ใจ” ในการทำงาน เห็นความมีน้ำใจซึ่งกันและกันชัดมาก 10). ผู้บริหารทุกระดับสนับสนุนให้มีความยืดหยุ่นในการจัดการศึกษา ที่ต้องวัดผล ประเมินผลร่วมกับสถานประกอบการ 11). มีการนำ WBL มาต่อยอดจากสหกิจศึกษาให้เกิด WIL ตลอดหลักสูตรที่สมบูรณ์ 12). แสดงให้เห็นว่า Work place is a new Classroom และ 13). การวาง Job Description เทียบกับ Course Description เพื่อให้ตรงกับผู้ใช้บัณฑิตในสาขาวิชาชีพนั้น”

Facebook Comments