สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker และ Panel Discussion ในงาน 5th International Conference on Emerging Research Paradigms in Business and Social Science ณ Middlesex University, Dubai campus

          ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต หลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ เรามีทีมคณาจารย์ในสาขาโลจิสติกส์ที่มีความรู้ ความสามารถและมากด้วยประสบการณ์ทางด้านโลจิสติกส์ จนเป็นที่ยอมรับทั้งในระดับประเทศและนานาชาติ นำทีมโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต อาจารย์ประจำหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการโลจิสติกส์ สำนักวิชาการจัดการ และดำรงหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์โลจิสติกส์และธุรกิจ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์

ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker และ Panel Discussion ในงาน 5th International Conference on Emerging Research Paradigms in Business and Social Science ณ Middlesex University, Dubai campus

เมื่อวันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ผศ. ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต หัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิเคราะห์โลจิสติกส์และธุรกิจ ได้รับเชิญเป็น Invited Speaker และ Panel Discussion ในงาน 5th International Conference on Emerging Research Paradigms in Business and Social Science ณ Middlesex University, Dubai campus ในการสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานประมาณ 180 คน จาก 60 สถาบันทั่วโลก โดยมี theme ในการสัมมนาคือ Sustainability, Mobility and Opportunity ซึ่งสอดคล้องกับการจัดงาน DUBAI EXPO 2020 ที่เมืองดูไบ ประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ในปีนี้ ผศ. ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้ บรรยายเรื่อง Backhauling in Thailand: Practical Implementation, Challenges and Benefits โดย ผศ. ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้กล่าวถึงเป้าหมายของประเทศไทยในการเป็น Asian Logistics Hub ซึ่งประเทศไทยต้องเร่งสร้างความสามารถทางการแข่งขันโดยเฉพาะการลดต้นทุนการขนส่งทางถนน รถเที่ยวเปล่า (Backhaul) เป็นปัญหาที่สำคัญที่ทำให้ต้นทุนการขนส่งของประเทศไทยสูงซึ่งจากการวิจัยพบว่าการขนส่งรถเที่ยวเปล่าของประเทศไทยสูงถึง 95% คณะนักวิจัยจึงได้พัฒนาแพลตฟอร์มการบริหารจัดการขนส่งรถเที่ยวเปล่า (Smartbackhaul Trucking System) เพื่อแก้ปัญหานี้ จากการศึกษาและวิจัยเรื่องการขนส่งรถเที่ยวเปล่าของประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 ของ ผศ. ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต ทำให้ปัญหาเรื่องรถเที่ยวเปล่าได้รับความสนใจจากทุกภาคส่วนในประเทศไทย จนทำให้เกิดคณะทำงานเพื่อขับเคลื่อนการแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง การลดการขนส่งรถเที่ยวเปล่าไม่เพียงแต่เป็นการลดต้นทุนทางการขนส่งเท่านั้นแต่เป็นแนวทางลดปัญหามลพิษโดยการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (GHG emissions) ที่เกิดจากภาคการขนส่งและการลดปัญหาในมิติทางด้านสังคมอื่นๆ อีกมากมาย เช่น ปัญหาจราจร อุบัติเหตุบนท้องถนน เป็นต้น ดังนั้นการลดการขนส่งรถเที่ยวเปล่าจึงเป็นกลไกที่สำคัญในการสร้างความยั่งยืน (Sustainable) ให้แก่อุตสาหกรรมโลจิสติกส์และการขนส่งของประเทศไทย สำหรับแผนงานในอนาคตขณะนี้นักวิจัยได้ร่วมกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องพัฒนา National Logistics Platform เพื่อเป็น Platform การบริหารจัดการการขนส่งและสินค้าแบบครบวงจรหลักของประเทศไทยที่เชื่อมต่อทุกรูปแบบการขนส่งเพื่อเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันให้แก่ประเทศไทย
ส่วนในช่วง Panel Discussion ผศ. ดร. จรรยา ชาญชัยชูจิต ได้ร่วมอภิปรายหัวข้อ Mobility: The smarter, more efficient movement of knowledge, idea, people and goods กับผู้บริหารระดับสูงด้านโลจิสติกส์และการขนส่งของประเทศสาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งประกอบด้วย Mr. Michael Stockdale, CEO- B2C Logistics; Mr. Prakash Rao, Head of Supply Chain project- Landmark Group; Dr. Muddasir Ahmed, MEA Regional Planning and Operations Manager-Bridgestone; Mr. Ghanim Eid Bin Wogayeh, Senior Director Business Development – Emirates Transport โดยคณะได้มีแลกเปลี่ยนประสบการณ์การบริหารจัดการโลจิสติกส์และการขนส่งของแต่ละบริษัท และทิศทางและแนวโน้มของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะเข้ามาเปลี่ยนการดำเนินการด้านการขนส่ง

Facebook Comments