สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,เด็กการจัดการ,การจัดการวลัยลักษณ์ , การจัดการมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,แหล่งปัญญาด้านการจัดการ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ, สำนักวิชาการจัดการ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์,WalailakUniversity, SM,Schoolofmanagement,ผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ ให้เป็นคนดีและคนเก่ง,มีความรู่และความเชี่ยวชาญในการปฎิบัติ,

สำนักวิชาการจัดการและชมรมท่องเที่ยวท่าศาลาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางในการสนับสนุนการจัดการงานเทศกาลถนนคนเดินท่าศาลา

สำนักวิชาการจัดการและชมรมท่องเที่ยวท่าศาลาร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางในการสนับสนุนการจัดการงานเทศกาลถนนคนเดินท่าศาลาที่ผ่านมาและในอนาคต
ในวันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2567
ทางชมรมท่องเที่ยวท่าศาลา
นำโดย
คุณวันเฉลิม แก้วเขียว เลขานุการชมรมท่องเที่ยวท่าศาลา
คุณพุทธพร ชุมแก้ว ธราพรสกุลวงศ์ ตัวแทนฝ่ายวิชาการจากศูนย์บริการวิชาการ
และอาจารย์สุนทร บุญแก้ว ที่ปรึกษาชมรมท่องเที่ยวท่าศาลา

เข้าปรึกษาและขอบคุณคณบดีสำนักวิชาการจัดการ
ผศ.ดร. พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์ รักษาการคณบดีสำนักวิชาการจัดการ

            สำหรับการสนับสนุนการจัดประกวด Miss QUEEN THASALA Summer Breeze 2024 ผ่านสาขาการท่องเที่ยวและโปรเชฟ และการส่งเสริมให้กลุ่มนักศึกษาหลักสูตรโปรเชฟไปออกร้านขายอาหารและเครื่องดื่มภายในงาน รวมทั้งการอนุญาตให้คณาจารย์ในสำนักวิชาการจัดการได้ลงพื้นที่ให้บริการวิชาการโดยตรงและร่วมกับศูนย์บริการวิชาการ
            พร้อมร่วมแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางในการสนับสนุนการจัดการงานเทศกาลถนนคนเดินท่าศาลา เมื่อวันที่ 6-7 เมษายน 2567 ซึ่งรับผลตอบรับเกินเป้าหมาย มีผู้ร่วมงานไม่น้อยกว่า 5,000 คน/วัน เกิดการกระจายรายได้ ภาพลักษณ์ที่ส่งเสริมและต่อยอดการท่องเที่ยวในพื้นที่ ก่อให้เกิดคุณค่าและความภาคภูมิใจ ขวัญกำลังใจ ให้แก่ผู้จัดงานและประชาชนในพื้นที่ และต่อยอดในการวางแผนการจัดเทศกาลถนนคนเดินท่าศาลา ครั้งที่ 2 ในวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2567 ภายใต้แนวคิด Thasala’s F4s: Food, Fruits & Fan Fairs , มีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนขึ้น
            ในการนี้ ทางสำนักวิชาการจัดการได้ใช้โอกาสดังกล่าวในการแลกเปลี่ยนมุมมองและแนวทางในการสนับสนุนการดำเนินงานร่วมกันต่อไปในอนาคต ภายใต้พันธกิจและปณิธานด้าน “การเป็นหลักในถิ่น” ของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ที่สามารถขับเคลื่อนร่วมกันได้ในการจัดการเรียนการสอน การวิจัยเชิงพื้นที่ และการให้บริการวิชาการรับใช้สังคม

Facebook Comments